กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ (อาหารดี ชีวีเป็นสุข)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนพิการตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรมคนพิการตำบลท่าโพธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันชมรมคนพิการตำบลท่าโพธิ์ ดูแลผู้พิการทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 168 คน ซึ่งมีผู้พิการครบทุกประเภทความพิการ จากข้อมูลผู้พิการในระยะ 3 - 4 ปี หลัง ๆ มาประเภทผู้พิการที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากจะเป็นประเภทแขนขาอ่อนแรง เส้นเลือดหัวใจ สมอง เบาหวาน อันจะนำมาซึงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต แล้วพิการติดเตียงไปในที่สุด ซึ่งสาเหตุของโรคที่นำไปสู่ความพิการเหล่านี้ เกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง ไม่ออกกำลังกาย
    ถ้าผู้พิการ/ผู้ดูแล มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดสารพิษ และรู้จักการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เช่น พิการออกกำลังกายทำจิตใจให้ร่าเริง เบิกบาน ไม่เครียด ก็จะทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น     ชมรมคนพิการตำบลท่าโพธิ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้พิการ/ผู้ดูแล จึงได้เสนอโครงการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ (อาหารดี ชีวีเป็นสุข) ขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ สำหรับดำเนินการดังกล่าว ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแล มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกชนิดของอาหารแต่ละประเภท

ร้อยละ 60 ของผู้พิการ/ผู้ดูแล  ที่เข้าร่วมการอบรม  มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารดีมีประโยชน์

0.00
2 เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแล ให้ความสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารเคมี

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม  นำความรู้จากการอบรมกลับไปปฏิบัติ  โดยการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือน  อย่างน้อย 2 -3 ชนิด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คณะกรรมการชมรมประชุมเพื่อเสนอโครงการเข้าแผน
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติวางแผน /กำหนดวิธีการอบรม/รายละเอียดพันธุ์ผัก
  3. ติดต่อวิทยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดโครงการตามแผน
  4. ติดตามผลโครงการ
  5. สรุป/ประเมินผลโครงการเสนอต่อผู้สนับสนุนงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้พิการ/ผู้ดูแลสามารถเลือกรับประทานอาหารดี มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะได้
  2. ผู้พิการและผู้ดูแลมีผักที่ปลูกไว้รับประทาน ซึ่งเป็นผักที่มีประโยชน์และปลอดสารปนเปื้อน
  3. คุณภาพชีวิตผู้พิการ/ผู้ดูแลจะดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 11:02 น.