กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 7 บ้านเขาวังชิง ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านเขาวังชิง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 1 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านเขาวังชิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1047 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการพัฒนา ดูแล จัดการ ควบคุมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

0.00
2 เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.ชุมชนได้รับการสำรวจและควบคุมค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกิน 10
2.สถานที่ราชการเช่น วัด,โรงเรียน, ศูนย์เด็ก ได้รับการสำรวจและควบคุมค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย (CI) เท่ากับศูนย์ 3. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50/แสนประชากร 4. ชุมชน,สถานที่ราชการได้รับการควบคุมโรคไม่ให้เกิดโรคในระยะที่ 2
(Generation ที่ 2)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดทำโครงการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงก็อง เพื่อขออนุมัติ ๒.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ หามาตรการ และกลวิธีการดำเนินงาน ๓.จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงเรียน วัด และโรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือนดูแล จัดการ ทำความสะอาดบ้านเรือน ๔.เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ

  ขั้นดำเนินการ
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน กิจกรรมที่ ๑ การรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ยุงลายตัวแก่ ในหมู่บ้าน วัด
กิจกรรมที่ ๒ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยุงลายตัวแก่ กรณีที่พบผู้ป่วย และมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

  ขั้นเตรียมการ ๑.จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการ ประกอบด้วย -อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา -องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงก็อง ๒.จัดเวชภัณฑ์ น้ำยาและเครื่องพ่นละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน ๓.ฝึกซ้อมการใช้เครื่องพ่นละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน

ขั้นดำเนินการ ๑.ประชาสัมพันธ์การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลาย โดย     a.ใช้ทรายเคมีฟอสและเคมีภัณฑ์อื่นๆ ในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย     b.การพ่นสารเคมีแบบละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน ประจำปี (๒ ครั้งต่อปี)
c.การพ่นสารเคมีแบบละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน ในกรณีที่ มีการระบาด หรือพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก d.สำรวจดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย บ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย ทุกเดือน


๒.การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย (ดำเนินการทุก ๗ วัน ) โดยเจ้าของบ้าน
a.การปกปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด b.การคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์ เพื่อไม่ให้รองรับน้ำ
c.การเผา ฝัง ทำลาย หรือกลบทิ้งเศษวัสดุที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย d.การขัดล้างภาชนะกักเก็บน้ำทุก ๗ วัน ๓.การทำลายลูกน้ำยุงลาย
a.วิธีทางกายภาพ เช่น การคว่ำ ฝัง เผาทำลายภาชนะต่างๆที่ไม่ใช้ประโยชน์ b.วิธีใช้สารเคมี เช่น ทรายเคมีฟอส น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก เกลือแกง
c.วิธีทางชีวภาพ เช่น การปล่อยปลากินลูกน้ำ ๔.การพ่นสารเคมีแบบละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน ประจำปี (๒ ครั้งต่อปี)
๕.สอบสวนโรคไข้เลือดออกและควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พร้อมแจ้งการกำจัดยุงลาย ในกรณีพบผู้ป่วยภายใน ๒๔ ชั่วโมง ๖.ออกพ่นละอองฝอย (ULV) แบบสะพายหลัง/เครื่องพ่นหมอกควัน ในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในรัศมี ๑๐๐ เมตรรอบบ้านผู้ป่วย ภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้ง หรือสงสัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 14:18 น.