กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง
รหัสโครงการ 64-L5226-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลระโนด
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,116.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฑาทิพย์ โนรดี
พี่เลี้ยงโครงการ นางพรเพ็ญ แสงแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 5,616.00
2 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 15,500.00
รวมงบประมาณ 21,116.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลาย และการประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดปี พ.ศ. 2564 ในพื้นที่จังหวัดสงขลามีอำเภอที่อยู่ในอัตราเสี่ยงสูงคืออำเภอนาหม่อม และอำเภอสะบ้าย้อย ในขณะที่อำเภอระโนดมีอัตราเสี่ยงปานกลาง และจากการวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลายในปี พ.ศ. 2564 โดยกรมควบคุมโรค พบว่าทุกพื้นที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยยุงลายทั้ง 3 โรค ได้แก่ 1. โรคไข้เลือดออก มีกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นเด็ยวัยเรียน 5-14 ปี ในขณะที่ผู้ใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้สูงอายุ 2. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย พบมากในเขตพื้นที่เทศบาลในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นวัยทำงาน 25-44 ปี และเด็กวัยเรียน 5-14 ปี และ 3. โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่เริ่มมีการระบาดเมื่อปี 2559 ประชาชนส่่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน กลุ่มเสี่ยงจะเป็นหญิงวัยเจริญพันธ์ุุที่ตั้งครรภ์ทำให้พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในทารกแรกเกิด เช่น พิการทางสมองและระบบประสาทและความผิดปกติทางด้านพัฒนาการในภายหลัง ทั้งนี้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวเนื่องจากในบ้านเรือนของประชาชน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น ศาสนสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงงาน โรงแรม และโรงพยาบาล หลายแห่งยังมีการสำรวจพบลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการแพร่ระบาด   การดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุง จึงต้องเร่งดำเนินการจัดการที่ตัวพาหะ ตั้งแต่การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การกำจัดยุงตัวเต็มวัย ควบคู่กับการสร้างความตระหนักและรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เทศบาลตำบลระโนดได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ และสามารถควบคุมการระบาดได้ทันท่วงที รวมถึงป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างเมื่อเข้าสู่ฤดูการระบาดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงในเขตเทศบาลตำบลระโนด
  1. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุงในพื้นที่
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อควบคุมโรคกรณีเกิดโรคและมีการระบาดในพื้นที่ได้ทันท่วงที
  1. ลดการแพร่ระบาดในพื้นที่่
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความตระหนักและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุง
  1. ลดแหล่งเพาะเชื้อโรคและพาหะนำโรคได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4000 21,116.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายไวนิลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน หน่วยงาน และชุมชน 0 5,616.00 -
1 - 31 มี.ค. 64 จัดซื้อทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย จัดซื้อน้ำยาพ่นหมอกควัน 4,000 15,500.00 -
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่พนักงานเทศบาลตำบลระโนด แกนนำชุมชน อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อจัดทำโครงการฯ
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการฯ
  3. แจ้งพนักงานเทศบาลตำบลระโนด อสม. และแกนนำชุมชน
  4. จัดทำแผนป้องกันควบคุมโรค และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่
  5. ดำเนินการตามแผนป้องกันควบคุมโรค
  6. ติดตามและประเมินผลความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงในเขตเทศบาลตำบลระโนด
  2. สามารถควบคุมโรคได้ทันทวงทีหากเกิดการระบาดในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ประชาชนให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 09:17 น.