กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก
รหัสโครงการ 64-L3341-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายสมบัติ ช่อคง 2.นางนี เลี่ยนกัตวา 3. นางดารา ทองอินทร์ 4. นายวิเชียร จงรัตน์ 5. นงทัศนีย์ ดำชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ เพื่อช่วยส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นทีให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ

1.อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 75 คน ได้รับความรู้และทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ

1.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.บ้านป่าบากให้มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับการพัฒนาศักยภาพการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
1.00
3 3. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมถูกต้อง
  1. ประชาชนได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 19,725.00 1 19,725.00
1 มี.ค. 64 - 30 พ.ค. 64 1.กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ 75 19,725.00 19,725.00
  1. ขั้นเตรียมการ (Plan) 1.1 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ปัญหาและอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมา 1.2 นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล 1.3 นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก 1.4 จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ 1.5 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.1 ประชุม ชี้แจง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านป่าบาก 2.2 ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารรสุข 2.3 อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
  3. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) 3.1 ประเมินผลการดำเนินการ 3.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 3.3 นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และอบต.ทุ่งนารี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพิ่มมากขึ้น
  2. มีการพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 10:49 น.