กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 60-ศ4141-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กันยายน 2560 - 7 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูไวบ๊ะ บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมาหะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีกว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในสภาวะแวดล้อม และแหล่งน้ำ ส่งผลต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ หากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากๆ จะเห็นได้จากประชาชนในระดับครัวเรือน หรือเกษตรได้เริ่มมาให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตที่เป็นที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการน้ำหมักชีวภาพกำลังเป็นที่สนใจของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำในระดับครัวเรือนและชุมชนที่สนใจ แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องกระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาและการตรวจคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำน้ำหมักชีวภาพ

ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ จึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้จากเศษอาหาร เปลือกผลไม้ เช่น เปลือกส้ม เปลือกสับปะรด แตงโมและเศษผักต่างๆ นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย แก้ไขปัญหาขยะอินทรีย์ที่ส่งกลิ่นเหม็น เรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การเอาจุลินทรีย์ EM มาช่วยในการเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เหลือใช้เป็นน้ำจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อไปทำการล้างท่อลดปัญหาการส่งกลิ่นเหม็นทดแทนการใช้สารเคมี ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับนโยบายระดับชาติที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และลดปัญหาขยะในครัวเรือน ให้ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น จึงหันมาใช้สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวมาทดลอง และประยุกต์ใช้ประโยชน์มากขึ้นจึงได้จัดทำโครงการน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์
  • ลดปริมาณขยะอินทรีย์
2 2. เพื่อนำวัสดุเหลือใช้จากครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ

-ลดปริมาณขยะอินทรีย์

3 3.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ
  • ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ และใช้ประโยชน์ได้จริง
4 4 เพื่อลดปัญหามลพิษทาง และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
  • ลดปัญหามลพิษทาง และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

.เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.ประสานงานกับและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4. กิจกรรมที่ดำเนินการ - มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทำน้ำหมักชีวภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบล ลำใหม่ทั้ง 7 หมู่ๆ ละ10 คน รวมทั้งหมด 70 คน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ อ.เมือง จังหวัดยะลา ในวันที่ 7 กันยายน2560 โดยวิทยากร จากกสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปริมาณขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. ลดปัญหามลพิษทาง และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2560 09:46 น.