กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูง ปี 2564 รพ.สต.บ้านป่าบาก
รหัสโครงการ 64-L3341-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางนี เลี่ยนกัตวา 2. นางเจริญ คงสม 3. นางอุดมวรรณ ทองอินทร์ 4. นางกัลยา สนธ์น้อย 5. นางดารา ทองอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น บ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 บ้านยางขาคีมหมู่ที่6 บ้านหารบัวหมู่ที่9 มีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมรูปแบบการเกษตรทำเพื่อการบริโภค มาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืช จึงมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูง 2564 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราการป่วยจากโรคประกอบอาชีพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง รู้ว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด
  1. กลุ่มเสี่ยง รู้ว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดร้อยละ 95
1.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอดภัย
  1. กลุ่มเสี่ยงที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอดภัยตอบคำถามถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการป้องกันที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
  1. กลุ่มเสี่ยง เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการป้องกันที่ถูกต้องตามมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 12,200.00 1 12,200.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ค. 64 กิจกรรมดำเนินการคัดกรองเกษตรกรรายหมู่บ้าน 300 12,200.00 12,200.00
  1. สำรวจกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในเขตรับผิดชอบ
  2. จัดทำทะเบียนเกษตรกรรายหมู่บ้าน และทำการคัดกรองเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงตามแบบฟอร์ม นบก.1
  3. สรุปข้อมูลพฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยง
  4. ดำเนินการคัดกรองเกษตรกรรายหมู่บ้าน
  5. สรุปผลการคัดกรอง และแปรผลการคัดกรองเป็น รายหมู่บ้าน
  6. จัดทำทะเบียนกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง
  7. จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากการใช้และบริโภคยาฆ่าแมลง
  2. กลุ่มเสี่ยงได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ การบริโภคอาหาร เกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลง
  3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อกรณีที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้ยาฆ่าแมลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 11:36 น.