กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างเครือข่ายการค้นหา ติดตาม ดูแล ควบคุม กำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสมัครธารณสุขตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 15 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 เมษายน 2564
งบประมาณ 15,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2564 15 มี.ค. 2564 15,750.00
รวมงบประมาณ 15,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยติดอันดับในกลุ่ม ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ทั้งวัณโรค (TB) วัณโรคที่มีการติดเชื้อ เอชไอวีร่วมด้วย (TB/HIV) และ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) โดยปีพ.ศ.๒๕๕๙ องค์การอนามัยโลกได้ กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า ๑๐ ต่อแสนประชากรโลกภายใน ปี พ.ศ. ๒๕๗๘ โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีเป้าประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรคให้เหลือ ๘๘ ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี ๒๕๖๔ โดยมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย” พัฒนาระบบและเครือข่าย นโยบายมุ่งมั่น สร้างสรรค์นวัตกรรม”แนวทางการควบคุม วัณโรคประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนแผนงานวัณโรคให้ได้ตามเป้าหมายที่ กำหนดเพื่อให้การแก้ไขปัญหาวัณโรคสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านการตรวจ วินิจฉัย การรักษา และการป้องกันตามเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้ จะเห็นได้ว่าวัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งระดับประเทศระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายในการติดตามดูแล ควบคุมกำกับ การรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของอสม.และญาติผู้ป่วย

 

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
3 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยวัณโรครับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 15,750.00 1 17,600.00
15 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดประชุม อบรมให้ความรุ้เกี่ยวกับวัณโรคแก่ อสม.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการติดตาม ดุแลควบคุมกำกับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด 1 วัน 80 15,750.00 17,600.00

กิจกรรม๑ จัดประชุม/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่อสม.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการติดตาม ดูแลควบคุมกำกับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด เป็นเวลา ๑ วัน กิจกรรม๒ ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนในกลุ่มผู้เสี่ยง(ผู้สัมผัสร่วมบ้าน,DM,COPD,Asthma,ผุ้สุงอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยติดเตียง)ร่วมกับ อสม.และให้ความรู้แก่ผู้ป่วย รวมถึงจัดหาญาติเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลผู้ป่วย
กิจกรรม๓ การติดตามรักษาผู้ป่วยวัณโรค ให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาดโดยมีญาติผู้ป่วยเป็นพี่เลี้ยงควบคุมกำกับการรับประทานยารักษาวัณโรค
กิจกรรม๔
๔.๑ อสม.ติดตามดูแลควบคุมกำกับการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
๔.๒ ผู้ประสานงานติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม.ทุกๆ ๑ เดือน
๔.๓ วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคตามโครงการ เสริมสร้างศักยภาพในการติดตามดูแล ควบคุมกำกับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุด การรักษาของผู้ป่วยวัณโรค ภายใต้กลวิธี DOT

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.การดูแลติดตามควบคุมกำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีประสิทธิภาพโดยการให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคหายขาดเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดการแพร่ระบาดของวัณโรคปอด ในทุกพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี

๒.อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งผลให้อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคสูงขึ้น และอัตราการขาดยาลดลง ซึ่งจะทำให้อัตราความชุกของผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อรายใหม่ในพื้นที่มีจำนวนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 22:16 น.