กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนบ้านคลองเตย 3 ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนบ้านคลองเตย 3 ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L7257-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองเตย 3
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรัญญา แซ่อ๋อง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 14,700.00
รวมงบประมาณ 14,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าคนในชุมชนป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคนี้เป็น “ภัยเงียบ” รวมทั้งยังเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา จากการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของชุมชนบ้านคลองเตย 3 ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,528 คนในปี 2563 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 1,082 คน คิดเป็นร้อยละ 70.98 ผลการคัดกรองปกติ จำนวน 867 คน คิดเป็นร้อยละ 80.12 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 115 คนคิดเป็นร้อยละ 10.62 กลุ่มสงสัยป่วย 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.10 กลุ่มป่วย 88 คน คิดเป็น 8.13 และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,082 คน คิดเป็นร้อยละ 70.95 ผลการคัดกรองปกติ 882 คน คิดเป็นร้อยละ 77.00 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 94 คน คิดเป็นร้อยละ 8.00 กลุ่มสงสัยป่วย 21 คนคิดเป็นร้อยละ 1.90 กลุ่มป่วย 125 คน คิดเป็นร้อยละ 11.50 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนบ้านคลองเตย 3 ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ร้อยละ 70 ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 60 มีการดื่มสุรา ร้อยละ 37 และสูบบุหรี่ ร้อยละ 27 ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาการแกงถุง อาหารนอกบ้าน และมีงานเทศกาลต่างๆ มากกมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย หรือดูแลตนเองไม่มีการคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมัน เกิดภาวะอ้วนลงพุงเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมา และในปี 2563 ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงไปแล้วทั้งหมด 50 คน พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ดีขึ้น ร้อยละ 25 มีน้ำหนักลดลง ร้อยละ 40 มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 มีระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในภาวะปกติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 มีการควบคุมระดับความดันโลหิตให้ดีขึ้น ร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ดีต่อประชาชนในพื้นที่ จากข้อมูลดังกล่าว ของชุมชนคลองเตย ๓ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียด ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต และในกลุ่มที่ป่วยแล้วต้องมีการดำเนินการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปจึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเตย 3 ปี 2564 ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 จำนวน 50 คน

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงในในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลและติดตาม ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน 0 375.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 250.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน 0 6,700.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหารการออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (๓ อ. ๒ ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 3,500.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง 0 2,500.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน 0 1,375.00 -
รวม 0 14,700.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 09:20 น.