กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีนาข้าวเสียร่วมใจ ต้านภัยมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 64-L1475-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2564 - 23 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 25,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุทัยทิพย์ ทองฉวี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านม" เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง แนวโน้มหญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงขึ้นทุกปี  โดยหญิงไทยมีอัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านมประมาณ 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 100,000 คน  โรคมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะเริ่มแรก  การป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก  การกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรก  เป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านม
การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย  ในปี 2563 ในสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 1,018 ราย พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์ จำนวน 6 ราย และส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์ตรังเพื่อรับการตรวจเอกซเรย์ (Mammogram) จำนวน 6 ราย  ขณะนี้ยู่ระหว่างติดตามอาการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสียเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งเต้านมระยะแรก  เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่  จึงได้จัดทำโครงการสตรีนาข้าวเสียร่วมใจ ต้านภัยมะเร็งเต้านมขึ้น  โดยเน้นให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง  และส่งต่อเข้าระบบการรักษาในรายที่มีภาวะผิดปกติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูทักษะด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ ๒.เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ๓.สตรีอายุ 30-70 ปี ที่มีความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองได้รับการส่งต่อและติดตามรักษาต่อเนื่องทุกราย

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียม
          1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60 ปีในพื้นที่
  1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม
1.3 เขียนโครงการเพื่ออนุมัติ
1.4 เจ้าหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตรับผิดชอบ
2.ขั้นดำเนินงาน
2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ 2.2 อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมาย
- ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก - การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูก - แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็ง 2.3 เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
3.ขั้นติดตามและรายงานผล
  3.1 ลงข้อมูลในโปรแกรม Cxs2010 และส่งข้อมูล แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3.2 แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการ
  3.3 ในรายที่ผลผิดปกติ ส่งพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง
  3.4 ประเมินผลโครงการ สรุปและรายงานผลโครงการ   - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม   - ทะเบียนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 60ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  2. ร้อยละ 80ของสตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้ เรื่องมะเร็งปากมดลูก สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  3. ร้อยละ 100ของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตาม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 11:59 น.