กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชะลอ โรคไตเรื้อรัง
รหัสโครงการ 64-L1475-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2564 - 10 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุทัยทิพย์ ทองฉวี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  ในปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากกว่า 35,000 ราย ในประเทศไทย ซึ่งรัฐต้องสูญเสียทรัพยากรจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้  โดยปัจจัยที่สำคัญของการที่พบผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากขึ้น คือ ผู้ป่วยไม่รู้ว่าป่วยเป็นโรคไตระยะเริ่มแรกที่พอรักษาได้ และผู้ป่วยที่มีโรคเดิมอยู่แล้วดูแลตนเองไม่ถูกต้อง สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตวายระยะสุดท้าย มาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายหรือได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม การเกิดภาวะไตเรื้อรังจะทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่ของไต ในการรักษาความสมดุลของเกลือแร่และกรดด่าง ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างของเสียทางช่องท้องหรือการเปลี่ยนไต ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยจึงมุ่งที่จะประคับประคองให้สามารถควบคุมอาการได้ ชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต ไม่ให้กลายเป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ป้องกันสภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
การดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสียในปี 2563  จำนวน 289 ราย พบว่ามีค่าไตอยู่ในระยะ 3 จำนวน 67 ราย ระยะ 4 จำนวน 4 ราย ระยะ 5 (โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ) จำนวน 1 ราย  ซึ่งต้องรักษาโดยการล้างไตทางหน้าท้อง  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในแต่ละระยะตั้งแต่เริ่มเป็นหรือกลุ่มเสี่ยงก่อนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ระยะ5) ที่ต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  จึงได้จัดทำโครงการ ชะลอ โรคไตเรื้อรัง ขึ้น เพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมของหน้าที่ไตและป้องกันโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไตเรื้อรัง สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อป้องกัน และชะลอโรคไตเรื้อรัง 2.เพื่อลดอุบัติการณ์เกิดภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

 

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทราบ 2.สำรวจจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าไตอยู่ในระยะ 3 ระยะ 4 ระยะ 5 3.จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนและขออนุมัติงบประมาณ
4.จัดทำสื่อให้ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง 5.ประสานวิทยากรในการจัดกิจกรรม 6.จัดอบรม กลุ่มเป้าหมายที่มีค่าไตระยะที่ 3 ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ
7. ประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้ - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ - จากการติดตามค่าไตในปีงบประมาณ 2564
6. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และชะลอโรคไตเรื้อรังร้อยละ 70
  2. ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 14:43 น.