กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ตำบลยาบี ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3070-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 18,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวการีมา หะยีสะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโลหิตจาง 231.63 ต่อแสนประชากร (โดยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553 -2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มเด็กปฐมวัยมีความชุกของโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 ในขณะที่เด็กในเขตเมืองพบ ความชุกของโลหิตจางร้อยละ 26 นอกจากนี้ โลหิตจางยังเป็นหนึ่งในสาเหตุ 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อสุข ภาวะของเด็กไทยอายุ 0-14 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ จากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโลหิตจางเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านบาทต่อปี โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) สาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น 2) สาเหตุจากการเสียเลือดอาจอาการเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นต้นทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุ เหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กมีมากในสมอง เป็นส่วนประกอบของ myelin sheath, neurotransmitters และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค เด็กทุกคนมีโอกาสเกิด “ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก” กันได้ทั้งนั้น ในเด็กไทยทุก 100 คน จะตรวจพบโรคโลหิตจางสูงถึง 30 คน อาการที่พบเห็นได้ทั่วไป คือ เด็กจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ พัฒนาการล่าช้า จิตใจและพฤติกรรมเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต มีปัญหาด้านการเรียน ขาดความสนใจและสมาธิในการเรียน สติปัญญาด้อยลง ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ ผลการเรียนแย่ลง เด็กๆควรได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด 2 ครั้งในเพศชาย และหญิง ครั้งที่ 1 (ช่วงอายุ 6 - 9 เดือน) ครั้งที่ 2 (ช่วงอายุ 3 – 6 ปี) ดังนั้นควรมีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ให้การป้องกันในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง และให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะหากปล่อยไว้อาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด จากสถานการณ์ของตำบลยาบี ในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางในเด็ก จำนวน 3 ราย อยู่ในหมู่ 4 จำนวน 2 ราย และหมู่ 1 จำนวน 1 ราย ซึ่งขณะนี้ผู้ป่วยกำลังรักษาต่อเนื่องที่ รพ.หนองจิก 2 ราย รักษาที่ รพ.ยะรัง 1 ราย ส่งผลกระทบในด้านพัฒนาการล่าช้า 1 ราย ซึ่งได้รับการส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ปัตตานีอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการในเด็ก ส่วนด้านวัคซีนเด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากเด็กเจ็บป่วยบ่อย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี จึงได้เล็งเห็นปัญหาทางด้านสุขภาพ จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ตำบลยาบี” ขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและหามาตรการเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เด็กตำบลยาบี มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจางพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน – 5 ปี

1.เด็กอายุ 9 เดือนถึง 5 ปีได้รับการคัดกรองร้อยละ 80

80.00
2 2.เด็กที่ตรวจพบภาวะซีดต้องได้รับการรักษาและส่งต่อทันที

2.เด็กอายุ 9 เดือนถึง 5 ปีได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100

100.00
3 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพ อสม. เกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก
  1. อสม. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน – 5 ปี
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 138 18,550.00 4 18,550.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 1.กิจกรรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจางในเด็ก แก่ อสม. ตำบลยาบี จำนวน 38 คน 38 7,550.00 7,550.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็ก จำนวน 100 คน เกี่ยวกับภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก 100 11,000.00 11,000.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 3. ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบปัญหา 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 4.ติดตามผล Hct. เดือนละ 1 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 0 0.00 0.00
  1. กิจกรรมให้ความรู้แก่ อสม.ตำบลยาบี เกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการนำไปดำเนินงานต่อไป
  2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก
  3. เจาะเลือดปลายนิ้วในเด็กอายุ 9 เดือนถึง 5 ปีเพื่อประเมินภาวะซีด
  4. ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กแก่เด็กทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ
  5. ให้ยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กที่มีภาวะโลหิตจางทุกคน
  6. ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบปัญหา
  7. จัดทำทะเบียนติดตาม เดือนละ 1 ครั้ง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรายที่พบภาวะซีด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 .เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางและได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเสริม 2. เด็กที่ตรวจพบภาวะซีดต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 15:06 น.