กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนวันละนิด พิชิตโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ด้วย 3อ 2 ส
รหัสโครงการ 64-L1475-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 33,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุทัยทิพย์ ทองฉวี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย  จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย  โรคหลอดเลือดสมอง  ภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ  ส่วนโรคเบาหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย เป็นต้น  ปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง และบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมันและหวาน สาเหตุ คือ ความเคยชินต้องประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป  รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2563  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป  ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 1,781 คน คิดเป็นร้อยละ ๙5.96 พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (ค่าน้ำตาลในเลือด ๑๑๐ mg/dlขึ้นไป) จำนวน 215 คน และความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตมากกว่า ๑๔๐/๙๐ มม.ปรอท) จำนวน 376 คน รวม 591 คน และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงจำนวน 12 ราย และ 5 ราย ตามลำดับ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนวันละนิด พิชิตโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ด้วย3อ 2 ส ขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น และยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.95 และความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 2. เพื่อให้ประชาชนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ด้วย 3 อ.2ส.

 

135.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อลดอัตราป่วยประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.95 และความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 2. เพื่อให้ประชาชนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ด้วย 3 อ.2ส.

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.สำรวจและคัดกรองประชาชน อายุ 15 ปี ขึ้นไป หมู่ 1,2,3,4,10 2.เจาะเลือดค้นหาเบาหวานแบบเจาะเลือดตรวจปลายนิ้วและวัดความดันโลหิต ในประชาชน อายุ
35 ปี ขึ้นไป หมู่ 1,2,3,4,10 3.สรุปผลการสำรวจคัดกรองและผลการเจาะเลือดเพื่อหากลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 4.ขออนุมัติจัดทำโครงการ 5.อบรมให้ความรู้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดัน โลหิตสูง ด้วย 3 อ.2 ส.
6.ประเมินกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยโดยการตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
อีก 3 เดือน
7.ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยกรณีที่ควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลไม่ได้ 8.สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.95 และความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5
2.ประชาชนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 09:31 น.