กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3031-12-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมกีฬาฟุตบอลตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิบรอเฮง กาโบะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงคือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบคือบุหรี่มือสองทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรคโรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกันและคาดว่าในปีพ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปี โดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้ง การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน และเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวายโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่ จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าว จะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงเช่นทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตายปอดอักเสบ ติดเชื้อโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2557 พบว่าจำนวนประชากรมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป54.8 ล้านคนเป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.7 )เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน (ร้อยละ 18.2 )สูบนาน ๆ ครั้ง 1.4 ล้านคน (ร้อยละ 2.5 )ในกลุ่มวัยทำงาน (25 – 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 23.5 ) รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน(15 – 24 ปี) (ร้อยละ 16.6 และ 14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 22 ตามลำดับ)เมื่อเปรียบเทียบกับปี2556พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นและทุกกลุ่มมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่นคือจากปี 2550 เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 16.8 ปีในปี 2557 ลดลงเป็นอายุ 15.6 ปีชี้ให้เห็นว่า อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของการตายทั้งหมดรัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 พันล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDP ถ้ายังไม่มีมาตรการใด ๆ ในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งการดูแลสร้างเสริมสุขภาพการแนะนำให้มาบำบัดจัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำโดยการสร้างแรงจูงใจ การตระหนักในปัญหา ร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และ -2- การให้ความรู้แก่ประชาชนให้สามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดีโดยการสร้างการตระหนัก จูงใจประชาชนเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพดี ของตนเองและบุคคลรอบด้าน
พื้นที่เทศบาลตำบลเมาะมาวี  มีจำนวนประชากรทั้งหมด 10,749 คนและประชากร 15 ปีขึ้นไป จำนวน 9,285 คน เพศชาย จำนวน 3,403 คน เพศหญิง จำนวน 5,882 คน พฤติกรรมของคนสูบบุหรี่สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้นอีกทั้งมีโอกาสสูบติดต่อกันจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน ที่สำคัญคือทำให้ผู้อื่นที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ที่มีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรือมากกว่าคนสูบบุหรี่ ชมรมกีฬาฟุตบอลตำบลเมาะมาวี จึงมีความประสงค์จัดทำโครงการ ลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่เพื่อสุขภาพ  ในปีงบประมาณ 2564 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนเลิกยาสูบและบุหรี่ได้และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่และโทษของบุหรี่

 

0.00
2 2. เพื่อรณรงค์และเสริมสร้างความรู้ช่วยให้สมาชิกในชุมชน ลด ละ เลิกบุหรี่ได้

 

0.00
3 3. เพื่อ ลด ละ เลิก จำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) 1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
2.ประสานเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน
3.อบรมให้ความรู้และรณรงค์ป้องกัน
4.ประเมินผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่
    1. มีคนต้นแบบในชุมชนสามารถเลิกบุหรี่ได้
    2. สมาชิกในชุมชนเลิกยาสูบและบุหรี่ได้และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชนขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 10:35 น.