กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ บ้านอุ่นรัก ปลูกผักกินเอง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด(ตาดีกา)บ้านป่าเสม็ด หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย หมาดยาพระจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยเต็มไปด้วยความเร่งรีบและการทำงานแข่งกับเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสาร จนกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมและสังคมโลกไร้พรมแดน ประชาชนหันมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรลดลงอย่างรวดเร็ว การบริโภคอาหารหรือการจัดหาอาหารของประชาชนจึงได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากอดีตที่อาหารหรือวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากแปลงผักที่ปลูกเอง หรือตามธรรมชาติ และปัจจุบันเป็นการซื้ออาหารจากตลาดสดหรือรถที่เร่ขายอาหารตามหมู่บ้านต่าง ๆ จนกลายเป็นนิสัยการบริโภคอาหารจานด่วน (Fast Food) หรืออาหารถุง การเจ็บป่วยโดยส่วนใหญ่จึงเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องหรือบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคของระบบหลอดเลือด และโรคมะเร็งต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง กลายเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ แซงหน้าเอดส์ โรคหัวใจ และอุบัติเหตุบนท้องถนน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในอาหารเป็นหนึ่งในเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ งานวิจัยของแคนาดาในปี 2547 พบว่า สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาเมท และสารเคมีกำจัดวัชพืชในกลุ่มฟีนอกซี่ (carbamate and phynoxy herbicide) เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล คาบาริล ซึ่งก็จะสามารถก่อให้เกิดมะเร็งปอด สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) เช่น คลอไพรีฟอสดิอาไซนอน ไดคลอวอส สามารถก่อมะเร็งสมองและมะเร็งเม็ดเลือด จากสถานการณ์ข้างต้น ศูนย์ฯ การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดบ้านป่าเสม็ด ได้เห็นถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารปลอดสารพิษจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายของสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ และอื่น ๆ ที่บริโภคในชีวิตประจำวัน และเพื่อส่งเสริมในประชาชนบริโภคอาหารปลอดสารพิษ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่่ยวกับสารพิษตกค้างในผัก

ร้อยละ 70 ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่่ยวกับสารพิษตกค้างในผัก

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริม สร้างแรงจูงใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปลูกผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการปลูกผักปลอดสารพิษ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมกลุ่มเป้าหมายและอสม.ในพื้นที่หมู่ที่2
    1. เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ
  2. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้ 4.1 ประสานผู้เข้าร่วมโครงการ 4.2 ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ 4.3 อบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 4.3.1 เลือกซื้อผักอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง 4.3.2 สารพิษตกค้างมีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร 4.3.3 สาธิตวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
    1. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับมีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริโภคผักปลอดสารเคมีที่ถูกต้อง
    1. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ
    2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 10:11 น.