กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-L5192-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลำไพล
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วิทิตา วิจะสิขะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบัน อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก มีการประมาณกันไว้ว่าในทุกๆ ปี จะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มากกว่า 500,000 ราย และครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นจะเสียชีวิตลง ซึ่งนับได้ว่าทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง 30 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจากอุบัติเหตุเลยทีเดียว ในส่วนของประเทศไทยเอง แต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,000 ราย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก 7 คน เป็น 14 คน ต่อวัน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทเพราะ คิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร แต่ในความเป็นจริง ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติ รายงานว่า 30% ของผู้หญิงไทย ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย เซลล์มะเร็งที่พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ส่วนมะเร็งเต้านมป้องกันและค้นหาได้ด้วยการส่งเสริมความรู้แก่สตรีให้สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง (ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ / www.NIC.go.th.) ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร คลินิก เวชปฏิบัติครอบครัว 3 จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตตำบลลำไพล เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกได้เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,000.00 4 55,600.00
1 - 31 ส.ค. 60 ประชาสัมพันธ์ 0 3,000.00 4,600.00
1 ส.ค. 60 - 1 เม.ย. 61 จัดประชุม / อบรม 0 5,000.00 5,000.00
2 ส.ค. 60 จัดประชุม / อบรม 0 36,000.00 36,000.00
7 ส.ค. 60 จัดประชุม / อบรม 0 10,000.00 10,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ระยะเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน พร้อมทั้งภาคีเครือข่าย เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ และมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน 1.2 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 1.3 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ (หอกระจายข่าว, ป้ายไวนิล, ป้ายประชาสัมพันธ์, เอกสารแผ่นพับ, หนังสือแจ้งถึงเจ้าตัว ฯลฯ) 1.5 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ 2. ระยะดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 - จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (อายุ 30 - 60 ปี) ก่อนการเข้ารับบริการตรวจค้นหาคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก - ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม - ประเมินความพึงพอใจ 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และข้อที่ 3 - รณรงค์การตรวจคัดกรอง ค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย (อายุ 30 - 60 ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ - ติดตามผลและแจ้งผลความผิดปกติให้กลุ่มเป้าหมายทราบ - ให้สุขศึกษารายบุคคล/กลุ่มเรื่องการป้องกันและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติ 3. ระยะหลังดำเนินการ - สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจค้นหาความผิดปกติของเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 3.ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 10:23 น.