กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 60-L8301-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ นางดวงพรหมัดสุเด็น ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดวงพรหมัดสุเด็น
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านไร่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 พ.ค. 2560 30 ต.ค. 2560 41,700.00
รวมงบประมาณ 41,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี แข็งแรง สมบูรณ์ไม่เป็นโรค รพ.สต.บ้านไร่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของร่างกายตั้งแต่ระยะแรกในสตรี อายุ 30-60 ปี เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังดูแลให้ได้รับการรักษาระยะเริ่มต้น และการดำเนินกิจกรรมการส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการช่วยลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี Pap smear มากกว่าร้อยละ 30 ต่อไป และกรณีพบผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ เข้ารับการรักษาทุกราย

 

2 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย

 

3 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

 

4 4. เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

5 5. เพื่อหาแนงทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และมีประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิผล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์ให้สตรีอายุ 30-60 ปี ในพื้นที่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและเต้านม 2. สำรวจจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี และกลุ่มเสี่ยง 3. จัดอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 4. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย 5. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงในโปรแกรม Jhcis และนำส่งข้อมูลสู่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 6. นำส่งสิ่งส่งตรวจให้กับห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลหาดใหญ่ และติดตามรับผลการตรวจ 7. รายงานและแจ้งผลทางโทรศัพท์และจดหมาย ติดตามผู้ผิดปกติ เพื่อส่งต่อเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป 8. สรุปผลการดำเนินงาน ผลการตรวจ เป็น FILE ข้อมูลส่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีและกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก และให้ความสนใจในการเข้ารับการตรวจมากกว่า ร้อยละ 80 และ ร้อยละ 30 ตามลำดับ 2. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นได้รับการรักษา 3. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 10:25 น.