กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญสะอาดปลอดภัยห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 64-L7257-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 46,312.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลลิตา บุหลาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 46,312.00
รวมงบประมาณ 46,312.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ) เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 54-2/2552 มีมติให้การประกอบกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคที่กำหนด และนอกจากนี้น้ำยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะน้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด มีคุณภาพ มิฉะนั้น จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย นอกจากนี้น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะอาหารเป็นพิษ นิ่วในไต ระบบประสาท มะเร็ง ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ประกอบอาชีพไม่ได้และกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งโรคเหล่านี้ เราสามารถป้องกันได้โดยการปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอนามัย
ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชน หอพัก อพาร์ทเม้นท์ และภายในบริเวณสถานศึกษา เป็นจำนวนมาก และจากการดำเนินโครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2563 ทำให้ทราบว่าตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เพิ่มขึ้นในทุกปี อีกทั้ง การดำเนินงานในปีที่ผ่านมา พบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มมีเพียงร้อยละ 61.22 ดังนั้น จากข้อมูลดังกล่าว งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ สะอาด บริโภคปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและลดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อและเพื่อให้ประชาชนดื่มน้ำที่สะอาด ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย

ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้รับการตรวจเฝ้าระวังอย่างน้อยร้อยละ 100 ของจำนวนตู้ทั้งหมดในเขตเทศบาล

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญนำความรู้ที่ได้ไปดูแลตู้น้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้มาตรฐานและได้รับการดูแลให้ถูกสุขลักษณะอย่างน้อย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย (ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำและชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือ) และสุ่มตรวจคุณภาพน้ำตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม ร้อยละ 25 ของตู้น้ำดื่มทั้งหมดในเขตเทศบาล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 42,650.00 14 39,870.00
25 ก.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 2 ชุมชนบ้านคลองเตย บริเวณ ซอย 1 คลองเตย 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 1 ชุมชนบ้านคลองเตย บริเวณ ถนนร่วมพัฒนา 2 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 3 ชุมชนบ้านคลองเตย บริเวณถนนร่วมพัฒนา 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 4 ชุมชนบ้านคอหงส์ บริเวณซอยสุภาพอ่อนหวาน 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 5 ชุมชนบ้านคลองเปล บริเวณ หมุ่บ้านปริญญา (หลังวัดคลองเปล) 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 6 ชุมชนบ้านคลองเปล บริเวณ ซอย 3 ถนนกาญจนวานิช 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 7 ชุมชนบ้านทุ่งรี บริเวณใต้หอพักปิ่นแก้ว 94 ซอย 5 บ้านทุ่งรี 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 8 ชุมชนบ้านทุ่งรี บริเวณใต้หอพักสินธรแมนชั่น ถนนทุ่งรี 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 9 ชุมชนบ้านคลองหวะ บ้านเลขที่ 213 ถนนพลพิชัย-คลองหวะ 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 10 ชุมชนบ้านทุ่งโดน บริเวณใต้หอพักเดอะดีไลฟ์ 58 ถนนทุ่งรี-โคกวัด 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 11 ชุมชนบ้านทุ่งโดน บริเวณใต้หอพักสานฝันอพาร์ทเม้นท์ ถนนทุ่งรี-โคกวัด 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้ที่ 12 ชุมชนบ้านในไร่ บริเวณถนนปุณณกัณฑ์ 0 0.00 0.00
25 ส.ค. 64 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 0 39,870.00 39,870.00
30 ก.ย. 64 คืนเงิน กิจกรรมที่ 2 ตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 0 2,780.00 0.00
2 ฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญหรือตัวแทน และประชาชน จำนวน 50 คน/1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,662.00 1 0.00
30 ก.ย. 64 คืนเงิน กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้ (เนื่องจากสถานการณ์โควิด) 0 3,662.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้และตระหนักถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
  2. เป็นแนวทางในการควบคุม ดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
  3. ประชาชนทราบและให้ความสำคัญในการใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 17:19 น.