กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข
รหัสโครงการ 64-l7255-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 พฤศจิกายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ 57,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี โดย นางพรทิพย์ พละสินธุ์ ประธาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 57,720.00
รวมงบประมาณ 57,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
13.20
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ
25.60
3 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
45.30
4 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
63.20

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจาก การพัฒนาด้านสาธารรณสุขและทางแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็น ปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก และเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย แต่ในปัจจุบัน เป็นสังคมที่มีการแข่งขันในเรื่องการทำงาน บุตรหลานซึ่งเป็นวัยทำงาน จะต้องออกไปนอกบ้าน กว่าจะกลับมาก็ค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่าง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สูงวัยลดน้อยลง มีช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุถูกปล่อยให้อยู่กับบ้าน รู้สึกน้อยใจ ไม่มีคุณค่า ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ จากการสำรวจข้อมูลด้านผู้สูงอายุ ของชุมชนหลังบิ๊กซีชุมชนทุ่งทองชุมชนประชาสรรค์ มีจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านและมีปัญหาในเรื่อง นอนไม่หลับ เศร้า และมีปัญหาในการพูดคุยกับลูกหลานในครอบครัว ร้อยละ 45 ของผู้สูงอายุ การสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุเท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกัน สุขภาพกายและจิตที่ดีอยู่ที่ร่างกายที่แข็งแรงทางคณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนหลังบิ๊กซีและชุมชนข้างเคียงได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ การปรับตัว การอยู่ร่วมกับ ครอบครัว และสังคม ได้อย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

63.20 82.60
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

45.30 72.50
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

13.20 32.10
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

25.60 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่รวมกันให้มีสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 0 0.00
19 พ.ย. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม 20 0.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 445 57,770.00 0 0.00
13 พ.ค. 64 ประชุมวางแผนทำงาน 20 925.00 -
20 พ.ค. 64 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก 100 21,320.00 -
28 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 300.00 -
18 มิ.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวความครัวเป็นสุข 100 16,700.00 -
22 มิ.ย. 64 - 21 ก.ย. 64 เสริมทักษะ “ชนะใจตนเอง มองส่วนดีของคนอื่น” 0 0.00 -
15 ก.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการภูมิปัญญาชาวบ้านในการส่งเสริมสุขภาพ 100 10,900.00 -
6 ส.ค. 64 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 อารมณ์กับสุขภาพ (การฝึกสมาธิ “ตนมองตนด้วยสมาธิเบื้องต้น” ) 100 7,000.00 -
6 ก.ย. 64 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ 25 625.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และมีทักษะในการปฏิบัติตน รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
  2. ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ลดภาวะโรคเครียด หรือ โรคซึมเศร้า
  3. ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. ผู้สูงอายุรู้จักการใช้สมุนไพรในการป้องกันโรคและมีเมนูสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
  5. ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2564 16:03 น.