กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ stop teen mom และ เอดส์ set zero
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 สิงหาคม 2560 -
กำหนดวันส่งรายงาน 27 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิตติณัฎซ์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายวุฒิชัย นิ่มดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าเช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ตสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเองเยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษาการคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และการติดเชื้อ HIV เป็นต้น อัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ
เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต นอกจากนี้เยาวชนส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกัน เยาวชนจำนวนมากตกอยู่ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ซึ่งรวมถึงผู้ติดยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีด หญิงขายบริการทางเพศและชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย งานการศึกษาวิจัยบางฉบับชี้ว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีและโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์กำลังเพิ่มขึ้นในหมู่เยาวชนในขณะที่ลดลงในประชากรกลุ่มอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหานี้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ STOP TEEN MOM & HIV SET ZERO เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง รวมถึงวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยรุ่นและแกนนำสตรีมีความรู้ เรื่องการควบคุม ป้องกันการติดเชื้อเอดส์และการท้องก่อนวัย

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

ผู้เข้ารับการอบรมมีสามารถทำกิจกรรมกลุ่มและตอบคำถามกิจกรรมกลุ่มได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3 เพื่อสร้างแกนนำ เครือข่าย ในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และการท้องก่อนวัย ในชุมชน

มีแกนนำและเครือข่ายในการดำเนินงานเอดส์ในชุมชนครบทุกหมู่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชี้แจง อสม. ในเครือข่ายเพื่อวางแผนในการดำเนินงานคัดเลือกเยาวชนและแกนนำ
    1. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน
    2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดอบรมเยาวชนแกนนำเรื่องการควบคุม ป้องกันการติดเชื้อเอดส์ และการตั้งท้องก่อนวัย 5.ประเมินผลโครงการ และสรุปการประเมินผลเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนารี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนและแกนนำสตรีมีความรู้ เรื่องการควบคุม ป้องกันการติดเชื้อเอดส์และการท้องก่อนวัยมากขึ้น
    1. เยาวชนมีความรู้ และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
    2. อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นลดลง
    3. มีแกนนำเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และการท้องก่อนวัยในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 10:59 น.