กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการกระบวนการเรียนรู้ (Knowledg Management) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในคลีนิคของหน่วยบริการปฐมภูมิ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกระบวนการเรียนรู้ (Knowledg Management) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในคลีนิคของหน่วยบริการปฐมภูมิ
รหัสโครงการ 60-L5192-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลำไพล
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วิทิตา วิจะสิกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว โดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลได้ให้บริการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี 2559 พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนถึง 15 คน และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิตและสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อน เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Knowledge Management) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคที่ผู้ป่วยประสบอยู่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ระยะเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน 1.2 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 1.3 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.5 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ 2. ระยะดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานในคลินิก โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ - ให้บริการผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด - ผู้ป่วยเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเสริมสร้างกำลังใจแก่กัน (KM ในคลินิกโรคเรื้อรัง) ประเมินภาวะแทรกซ้อนและหาแนวทางการแก้ไขร่วมกันของกลุ่มให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ ให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น โดยทีมสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ - สอนและสาธิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค - ผู้ป่วยรับการตรวจรักษาโดยทีมพยาบาลเวชปฏิบัติและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล - ผู้ป่วยรับยาและคำอธิบายการใช้ยา ผลข้างเคียงและประเมินความถูกต้องในการรับประทานยาของผู้ป่วย
- ตรวจสุขภาพประจำปี ให้กับผู้ป่วยตามเกณฑ์ อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 - ทีมสุขภาพร่วมประชุมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวโน้มในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยแต่ละราย - กิจกรรมการเยี่ยมบ้านและติดตามผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 3. ระยะหลังดำเนินการ - สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต และญาติ มีส่วนร่วมในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 11:21 น.