กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อย เริ่มต้นดีที่โรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L5188-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพยอม
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพเยาว์ จันทร์เพชรศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนขาดทักษะความรู้ ความเข้าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง
50.00
2 พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของนักเรียน
50.00
3 นักเรียนขาดความรู้การตรวจสอบฉลากและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านโคกพยอม ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ การตรวจสอบฉลาก และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย.โดยการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
ดังนั้น เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านโคกพยอมจึงได้จัดโครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพในโรงเรียน เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อยและนักเรียน เพื่อช่วยให้โรงเรียน ตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องสำอาง

นักเรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องสำอางร้อยละ90

50.00 90.00
2 เพื่อลดพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของนักเรียน

ลดพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของนักเรียน ร้อยละ 90

50.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบฉลากและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบฉลากและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชน ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องสำอาง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อลดพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของนักเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบฉลากและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

8 - 31 มี.ค. 64 ประชุมแผนการดำเนินงานตามโครงการ 0.00 -
3 - 31 พ.ค. 64 รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/จัดนิทรรศการ 3,622.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 อบรม/ฝึกปฏิบัติ การเลือกผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง การตรวจสอบฉลาก 6,118.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องสำอางมากขึ้น
2.นักเรียนมีพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น
3.นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบฉลากและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและชุมชนมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 16:06 น.