กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชนคนท่าข้าม
รหัสโครงการ 60-L2993-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปะนาเระ
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิธรยอดศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 - 4 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.838,101.477place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้แก่การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(กินหวาน มัน เค็มมากเกินไปและกินผักผลไม้น้อยเกินไป)การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยการบริโภคยาสูบการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิตพิการและเสียชีวิตตามมานอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล ปี 2559 ตำบลท่าข้าม ได้คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป พบว่าได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 97.21 แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 34.25กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 4.2 กลุ่มปกติ ร้อยละ 61.80และได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 95.82แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ12.12กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.21 และปกติ ร้อยละ 86.72(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดปัตตานีปี2559) ดังนั้นการจัดการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว และโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องในผู้ใหญ่จึงเป็นภารกิจหลักพื้นฐานที่ใช้เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการดำเนินงานส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีวิถีชุมชนคนท่าข้าม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.

 

2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

 

3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหมู่บ้านต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

4 เพื่อลดอัตราเสี่ยง ป่วยและตายจากโรคสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ,นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรพัฒนากรตำบลท่าข้าม, ผู้นำชุมชน, อสม.โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.1 ประชุมพัฒนาความร่วมมือการดำเนินโครงการ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง กับภาคีเครือข่าย 1.2 ประชุมเครือข่ายสาธารณสุข สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแส และการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตลอด จนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และจัดปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.จัดอบรมประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 - 5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 – 60 นาที ร่วมกับการรับประทานผักปลอดสารพิษและผลไม้สดวันละ อย่างน้อยครึ่ง กิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมันและประเมินภาวะสุภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ค่าBMI ระดับน้าตาลในเลือดก่อนดำเนินโครงการ
  3. จัดปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้าน
  4. ส่งเสริมให้มีการปลูกผักสวนครัวในครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและจัดหาพันธุ์ผักให้
  5. ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในชุมชน
  6. ประเมินภาวะสุขภาพหลังดำเนินโครงการ
  7. จัดประกวดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลท่าข้ามมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ ของการดูแล สุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ประชาชนตำบลท่าข้ามมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแล สุขภาพตนเองและชุมชน
  3. ประชาชนตำบลท่าข้ามมีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถดูแลสุขภาพในชุมชนของ ตนเองได้
  4. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
  5. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 13:07 น.