กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2564 - 30 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,519.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมบูรณ์ น้ำแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (4,519.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคนี้ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตจะพบอัตราการเกิดโรคในช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี โดยในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค การควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 50 ล้านคน ร้อยละ 75 อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก โดยประเทศไทยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2501 ซึ่งการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ควรมุ่งเน้นในการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทั้งภายในบ้าน ชุมชน สถานที่สำคัญต่างๆ โดยช่วงเวลาสำคัญที่ควรดำเนินการคือช่วงเดือนมกราคม – เมษายน เนื่องจากเป็นช่วงที่โอกาสการแพร่โรคเกิดน้อยที่สุด และจะส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วยที่อาจเกิดมากขึ้นในช่วงฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีรูปแบบการระบาดที่ไม่แน่นอน มีลักษณะเป็นแบบปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี โดยมีการระบาดใหญ่ในช่วงปี พ.ศ. 2553, พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2558 ซึ่งพบผู้ป่วยมากถึง 116,947 ราย, 154,444 ราย และ 144,952 ราย ตามลำดับ โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 28 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสม 10,093 ราย อัตราป่วย 15.22 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 9 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.09 และการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 18.06 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้ (15.68) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (15.40) และภาคเหนือ (9.45) ตามลำดับ โดยการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ มีอัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 5 - 14 ปี คือ 47.41 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ อายุ 15 - 24 ปี (28.64) และอายุ 0 - 4 ปี (17.41) ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มอายุ 45 -54 ปี มีอัตราป่วยตายสูงที่สุด (ร้อยละ 0.61) โดยพบปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยเสียชีวิต ได้แก่ มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหอบหืด ทานยาในกลุ่ม NSAIDS และผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้า โดยข้อมูลโรคไข้เลือดออกในเขตสุขภาพที่ 12 ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563  พบผู้ป่วยจำนวน 2,599 ราย มีอัตราป่วย 52.40 ต่อแสนประชากร และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย อัตราป่วย - ตาย ร้อยละ 0.15 ซึ่งจังหวัดตรัง พบผู้ป่วย จำนวน 407 ราย อัตราป่วย 63.28 ต่อแสนประชากร และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย อัตราป่วย - ตาย ร้อยละ 0.49 จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดในอำเภอเมือง 138.21 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอย่านตาขาว 86.80 ต่อแสนประชากร และอำเภอวังวิเศษ 73.47 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยอำเภอรัษฎาพบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 20.40 ต่อแสนประชากร ซึ่งอยู่ลำดับที่ 9 ของจังหวัดตรัง
  จากการศึกษาข้อมูลปัญหาสุขภาพชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง พบว่าในชุมชน มีบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย (House Index) ร้อยละ 13.99 และพบภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index) ร้อยละ 3.75 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน และจากการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน ได้ข้อสรุปว่าปัญหาสภาพแวดล้อมรอบบ้านไม่สะอาดมีแหล่งน้ำขัง เป็นปัญหาที่ชุมชนต้องการแก้ไขมากที่สุด เนื่องจากอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 ตำบลเขาไพร จึงได้จัดทำโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความร่วมมือกันในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย      (HI, CI) ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย รักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน นำสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลายใช้ภายในบ้านเรือนของตนเอง เพื่อเป็นต้นแบบในการการป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายให้กับชุมชนอื่นๆ ในเขตตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออ

 

0.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) ในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีส่วนร่วมในการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.การวางแผนการดำเนินงาน
- สำรวจบริบทในพื้นที่ชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง - วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์ งบประมาณ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ - มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ - คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.นำไปปฏิบัติ - จัดกิจกรรมตามแผนและกำหนดการที่กำหนดไว้ ดังนี้ - จัดกิจกรรมรู้เท่าทันภัยร้ายจากลูกน้ำยุงลาย
- กิจกรรมร่วมมือร่วมใจทำผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพรในชุมชน - จัดกิจกรรมประกวดบ้านเรือนสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายครั้งที่ 1
- จัดกิจกรรมประกวดบ้านเรือนสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายครั้งที่ 2 - มอบรางวัลและประกาศเกียรติบัตรให้แก่บ้านต้นแบบบ้านเรือนสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย
3.ประเมินผลการดำเนินงาน
- ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ด้วย แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลัง - ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ด้วยแบบประเมินบ้านเรือนสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย   และแบบสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย - ประเมินผลกระบวนการจัดการด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ
4.ปรับปรุงหรือการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน - สรุปผลการดำเนินงานและเสนอแนะแนวทางในการนำไปปรับปรุงพัฒนางาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก หลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) ในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ลดลงร้อยละ 60
  3. ประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านทอนเหรียน ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีส่วนร่วมในการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2564 11:56 น.