กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันไฟอินโดนีเซีย
รหัสโครงการ 64-L5273-5-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรัญญา เฉลิมบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ปกคลุมในหลายพื้นที่ของภาคใต้ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ของทุกปี ยังคงวิกฤต ในปี 2562 ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน รายชั่วโมง พุ่งสูงถึง 230 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ปี จากสถานการณ์หมอกควันไฟป่าจากอินโดนีเซีย พัดมาปกคลุ่มพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่า ที่ต้องกระทบเป็นกลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ก็ไม่ใช้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงเท่านั้นที่ต้องดูแลตัวเอง เพราะผลเสียจากการสะสมของฝุ่นพิษเมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายนาน ๆ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปได้ทั้งสิ้น โดยเป็นมากกว่าการสร้างความเดือดร้อนรำคาญ แต่รุนแรงถึงขั้นส่งผลให้เรา "ตายผ่อนส่ง" ได้หากต้องสูดดมฝุ่น PM 2.5 ต่อเนื่องเป็นเวลานาน สามารถส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยรายวันจากโรคระบบการหายใจ หัวใจ และหลอดเลือดสมองให้สูงขึ้น เช่น โรคปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง ได้เล็งเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จำนวน 2706 หลังคาเรือน ประชากร จำนวน 8412 คน และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีในพื้นที่โดย อบต.ฉลุง มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการป้องกันโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติ ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67 (3) โรคและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันไฟอินโดนีเซีย ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากหมอกควันไฟป่าที่พักปกคลุมในพื้นที่ตำบลฉลุง

ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากหมอกควันไฟป่า

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อจัดซื้อหน้ากากอนามัยใส่เพื่อป้องกันควัน รวมถึงมีวัสดุที่จำเป็นในการดำเนินงานเพียงพอ

มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
7 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1.จัดซื้อ หน้ากากอนามัย 0 50,000.00 -

1.จัดทำแผนปฏิบัติงาน กำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการออกแจกหน้ากากอนามัย 2.ประสานงานกับ รพ.สต.ฉลุง รพศ.หาดใหญ่ สสอ.หาดใหญ่ 3.ดำเนินการจัดซื้อหน้ากากอนามัย และวัสดุ เวชภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง 4.ออกดำเนินการออกแจกหน้ากากอนามัย ตามแผนการที่กำหนดโดยแต่ละจุด 5.สรุปผลการดำเนินงาน รายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากฝุ่นควันที่พัดปกคลุม ในพื้นที่ตำบลฉลุง 2.มีหน้ากากอนามัยใส่เพื่อป้องกันควัน รวมถึงมีวัสดุที่จะเป็นในการดำเนินงานเพียงพอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2564 14:11 น.