กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหน้าบ้านน่ามอง (ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย)ตำบลท่าหินปลอดไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5240-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุพรรณ โปชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านที่พักอาศัยเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลาทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก ชิคุณกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกาได้ จากข้อมูลระบาดวิทยาของรพ.สต.ท่าหิน 5 ปีย้อนหลังด้วยโรคไข้เลือดออก พบว่า 2559 มีผู้ป่วยจำนวน 3ราย คิดเป็นอัตราป่วย 115ต่อแสนประชากร ปี 2560 มีผู้ป่วยจำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38.42 ต่อแสนประชากร (ณ 20 ต.ค.2563) แต่เมื่อมองในภาพตำบล(รพ.สต.ท่าหิน+รพ.สต.พรวน) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม (26,27,66) จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 122.58 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบเพศหญิง 3 ราย เพศชาย 2 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.50 : 1 จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโรคไข้เลือดออกปี 2563 มีอัตราป่วยเกินกว่า 50 ต่อแสนประชากร ซึ่งถือเป็นการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน ซึ่งดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลอย่างยั่งยืน ประชาชนต้องจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอย่างถูกหลักสุขาภิบาล มีการกำจัดขยะ กำจัดสัตว์และแมลงนำโรค ไม่ใช้โฟมแลพลาสติกในครัวเรือนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้วยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและทำให้เกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รพ.สต.ท่าหิน จึงได้จัดทำโครงการหน้าบ้านน่ามอง (ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย) ตำบลท่าหินปลอดไข้เลือดออก ปี2564ขึ้น เพื่อให้ประชาชนเป็นแกนหลักในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องวิธีการจัดบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลทั้งภายในและบริเวณภายนอกบ้าน การคัดแยกและกำจัดขยะ อันตรายของการใช้โฟมและพลาสติกใส่อาหาร ส่งผลให้บ้านเรือนปลอดโรคไข้เลือดออก

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องวิธีการจัดบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลทั้งภายในและบริเวณภายนอก การคัดแยกและกำจัดขยะ อันตรายของการใช้โฟมและพลาสติกใส่อาหาร ร้อยละ 80 2.ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลทั้งภายในและบริเวณภายนอก การคัดแยกและกำจัดขยะ อันตรายของการใช้โฟมและพลาสติกใส่อาหาร ส่งผลให้บ้านเรือนปลอดโรคไข้เลือดออก ร้อยละ80

80.00
2 เพื่อให้ประชาชน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านเรือนอย่างถูกต้อง มีการคัดแยกและกำจัดขยะ ไม่ใช้โฟมและพลาสติกใส่อาหาร กำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นประจำทุกวันศุกร์

ครัวเรือนผ่านเกณฑ์หน้าบ้านน่ามอง(ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย) ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่า median ย้อนหลัง 5 ปี

ร้อยละของครัวเรือน มีค่า HI<10, CI=0 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 เมื่อเทียบค่าMEDAIN ย้อนหลัง 5 ปี

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสรุปปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางการดำเนินงานปี 2563 2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย ร่วมกันวิเคราะห์หาจุดอ่อนจุดแข็งของชุมชนพร้อมทั้งบรูณาการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 3.จัดทำโครงการเพื่อนขออนุมัติ 4.จัดประชุมขี้แจงวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการโครงการหน้าบ้านน่ามอง(ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะปลอดลูกน้ำยุงลาย) ตำบลท่าหินปลอดไข้เลือกออก ปี2564 แก่ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชน หมู่ที่ 1-6 ต.ท่าหิน 5.ให้ความรู้แก่อสม.และประชาชนในพื้นที่ เรื่องการป้อวกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยช่องทางต่างๆ 6.รณรงค์เลี้ยงปลาหางนกยูงและปล่อยปลากำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะกักเก็บน้ำภายในและภายนอกบ้าน ทุกสัปดาห์ 7.รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์โดยวิธีทางกายภาพ โดยการคว่ำและทำลายภาชนะที่มีน้ำขังและวิธีเคมีโดยการใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะกักเก็บน้ำใช้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน 8.จัดการประกวดหน้าบ้านน่ามอง(ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย) 9.จัดทำเกณฑ์ในการประกวดหน้าบ้านน่ามอง(ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย) 10.อสม.สำรวจบ้านเรือนในเขตพื้นที่รับผิดชอบและส่งรายชื่อบ้านเรือนที่ผ่านเกณฑ์ หน้าบ้านน่ามอง (ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำลาย)ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเข้าประกวดในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล 11.จัดการประกวดหน้าบ้านน่ามอง (ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย)ตัวอย่าง ในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล 12.มอบป้ายบ้านตัวอย่าง บ้านนี้น่ามอง (ปลอดพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย)ในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล 13.สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม การดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในตำบลท่าหินสามารถบูรณาการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบถูกหลักสุขาภิบาล(ปลอดโฟมและพลาสติก ปลอดขยะ ปลอดลูกน้ำยุงลาย) ส่งผลให้ ตำบลท่าหินมีบ้านเรือนที่สวยงาม ปราศจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 14:29 น.