กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8308-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบ้านแหลม
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลบ้านแหลม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 13.19900588,99.98022283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
25.00
2 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรควัณโรค
2.00
3 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตและสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นอกจากนี้การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ การเฝ้าระวังและการแจ้งข่าวการระบาดของโรคจะทำให้การดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคเกิดประสิทธิภาพ   ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ต้องมีความรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ในลักษณะ "ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบ" ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหาจึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคได้ ซึ่งประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่มีความสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพของพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยงานที่เกี่่ยวข้องให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

25.00 20.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

จำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ลดลง

2.00 0.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

20.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ประสานกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคติดต่อที่สำคัญ 3.เฝ้าระวัง การให้ความรู้ และแจ้งข่าวการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ 4.การออกค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน 5.การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย 6.สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 2.ประชาชนและทีมสุขภาพมีความรู้ในเรื่องโรคติดต่อที่สำคัญ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 15:25 น.