กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปากปิงสดใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 2564-L8010-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ครูโรงเรียนบ้านปากปิง รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากปิง
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 53,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสอฝีย๊ะ มู่เก็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 53,760.00
รวมงบประมาณ 53,760.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การศึกษากับสุขภาพอนามัยของผู้เรียนเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปโรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งของสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพของเด็ก สามารถทำให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

ปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิงจากสถิติการมาเรียนของนักเรียนจำนวน 82 คน ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนร้อยละ 30ขาดเรียนเนื่องจากการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสียซึ่งการเจ็บป่วยเกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนและการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสติปัญญาซึ่งสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเจ็บป่วยเนื่องจากพฤติกรรมของนักเรียน เช่น เล่นน้ำสกปรก ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร พักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพการแก้ไขการเจ็บป่วยของนักเรียนต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการกับหลายภาคส่วน ทั้งโรงเรียน ครอบครัว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้การปฏิบัติงานในการดูแลการเจ็บป่วยของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

โรงเรียนบ้านปากปิง มีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของนักเรียน ได้จัดทำโครงการปากปิง สดใสใส่ใจสุขภาพเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย โดยการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองจากการเจ็บป่วย เมื่อเป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสีย จัดตั้งแกนนำอสม.น้อยในโรงเรียนจัดตั้งคลินิกสุขภาพภายในโรงเรียน เฝ้าระวังสถานการณ์การเจ็บป่วยของนักเรียน ควบคุมป้องกันปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งต่อให้ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และโรคภัยใกล้ตัว

นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
  1. นักเรียนที่เจ็บป่วย ได้รับการดูแล และส่งต่อได้ทันท่วงที ร้อยละ 100
  2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น และอัตราการเจ็บป่วยลดลง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53,760.00 5 51,760.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตาม เฝ้าระวัง สุขภาพของนักเรียน 0 0.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 64 ประเมินสุขภาพนักเรียน 0 2,140.00 2,140.00
1 - 30 มิ.ย. 64 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว 0 24,280.00 22,280.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ส่งเสริมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน 0 26,340.00 26,340.00
1 - 30 ก.ย. 64 รายงานผลและนำเสนอโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

ดำเนินการตามกิจกรรม ต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการดูแลสุขภาพ แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง

  1.1 ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และโรคภัยใกล้ตัว

  1.2 จัดตั้งแกนนำอสม.น้อยในโรงเรียน จำนวน 10 คน เพื่อช่วยเหลือดูแล และเฝ้าระวัง

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน

  2.1 ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกาย โดยใช้เพลงสูตรคูณประกอบท่าทาง ในการออกกำลังกาย ทุกวัน วันละ ๓๐ นาที

  2.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา ฟุตบอล วอลเลย์บอล แบตมินตัน ตะกร้อ เป็นต้น

  2.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน เช่น รดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เป็นต้น


กิจกรรมที่ 3 ประเมินสุขภาพการเจ็บป่วยของนักเรียนและคัดเลือกนักเรียนตัวอย่างที่มีสุขภาพดี

  3.1 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพของนักเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม

  3.2 คัดเลือกนักเรียนตัวอย่างที่มีสุขภาพดี ห้องเรียนละ 1 คน และจัดทำเกียรติบัตรมอบแก่นักเรียนตัวอย่าง


กิจกรรมที่ 4 ติดตาม เผ้าระวัง สุขภาพของนักเรียน

  4.1 สื่อสารปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบและช่วยกันดูแล

  4.2 กรณีที่นักเรียนเจ็บป่วย แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและส่งต่อเข้ารับการรักษา


กิจกรรมที่ 5 การจัดทำรายงานโครงการและการนำเสนอโครงการ

  5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
  2. นักเรียนมีสุขภาพดีขึ้น และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2564 15:52 น.