กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนวัดกลาง ส่งเสริมการคัดแยก รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 64-L3360-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดกลาง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกลาง(นายเอกชัย ขุนฤทธิ์ )
พี่เลี้ยงโครงการ นายเอกชัย ขุนฤทธิ์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกลาง)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
0.55
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
883.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
100.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
9.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
9.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ เป็นต้นเหตุสำคัญของมลภาวะทางน้ำ อากาศ พื้นดิน ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาวะของประชาชน ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เกิดมูลฝอยตกค้างสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ทั้งแบบเทกองและปล่อยทิ้งให้เกิดการสะสมบริเวณถนน บริเวณทางเดิน ในที่สาธารณะ รอบ ๆ ตัวอาคาร และบ้านเรือน ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค รวมถึงในโรงเรียน      ที่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน สาเหตุเกิดจากจิตสำนึกแลการขาดความรู้เรื่องการคัดแยะขยะที่ถูกวิธี บางครั้งมีการเผาขยะในบริเวณโรงเรียน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน เช่น อาจเกิดโรคทางเดินหายใจ หอบหืด ตลอดจนชุมชนที่บ้านเรือนอยู่ใกล้เคียง การจัดการขยะในโรงเรียนวัดกลาง ยังมีการทิ้งขยะรวมกัน และพบว่าหลังจากวันเสาร์และอาทิตย์ขยะในบริเวณโรงเรียนจะมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานแก้ไขขยะในโรงเรียน เพื่อลดขยะและคัดแยกขยะโดยครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ขยะลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน ในการส่งเสริมการคัดแยกขยะ      การจัดการขยะที่ถูกวิธี เพื่อลดขยะในโรงเรียนและชุมชน ทำให้น่าอยู่และลดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสร้างความตระหนักให้กับโรงเรียนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนางานด้านสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนวัดกลาง มีนักเรียน จำนวน 40 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและที่ปรึกษา จำนวน 13 คน ซึ่งระบบการจัดการขยะในโรงเรียนเป็นแบบตนเองจัดการเองตามวิถี เนื่องจากไม่มีระบบจัดเก็บบริการในท้องถิ่น ดังนั้น ที่ผ่านมาโรงเรียนก็ได้มีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียน ครู และบุคลกรที่เกี่ยวข้องช่วยกันคัดแยกขยะภายในโรงเรียน สำหรับขยะในแต่ละประเภท ดังนี้ 1. ขยะอินทรีย์จากโรงอาหารผู้ประกอบการได้นำกลับไป 2.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ เทศบาลตำบลร่มเมืองจะมารับไปกำจัดปีละ 1 ครั้ง 3.ขยะรีไซเคิล ทางโรงเรียนยังไม่มีระบบที่ชัดเจน 4.ขยะทั่วไป ใช้การเผาทำลายในบริเวณภายในโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น กลิ่น น้ำเน่าเสีย ทัศนอุจาดของกองขยะที่ไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บ ส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากร เช่น การเกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และที่สำคัญเป็นแหล่งเพาะพันธ์โรคจากยุง หนู แมลงสาป ดังนั้น โรงเรียนวัดกลาง จึงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียน และชุมชนโดยรอบของโรงเรียนได้ร่วมกันดูแลการจัดการขยะที่มีปัญหามายาวนาน จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนวัดกลาง ส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

0.55 0.40
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

883.00 1000.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

100.00 200.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

9.00 9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,100.00 3 23,100.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ 0 11,600.00 11,600.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2.กิจกรรมรณรงค์การคัดแยกขยะ 0 11,500.00 11,500.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3. กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล 0 0.00 0.00

. ขั้นเตรียมการ Plan   1.จัดทำโครงการ   2.นำเสนอโครงการ   3.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง 2. ขั้นดำเนินการ Do
  2.1 ดำเนินการตามโครงการ
    - อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ นักเรียน     - ฝึกปฏิบัติการการจัดการขยะอินทรีย์ และ ขยะรีไซเคิล     - รณรงค์การคัดแยกขยะ เช่น การเดินรณรงค์ การจัดบอร์ด การพูดหน้าเสาธง   2.3 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ 3. ขั้นประเมินผล Check     1.จัดทำการประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ     2.ประชุมผู้เกี่ยวข้องโครงการ เพื่อหาความพึงพอใจและความร่วมมือ 4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข Action     1.ประชุมคณะทำงานสรุปโครงการเพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนา     2.รายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธีและนำไปใช้กับครัวเรือน 2. โรงเรียนสะอาดและปลอดขยะ 3. เกิดผลิตภัณฑ์จากการนำขยะที่เหลือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 4. ลดแหล่งเพาะพันธ์โรค 5. ไม่มีการเกิดโรคที่เกิดจากยุง หนู แมลงสาป แมลงวัน ภายในโรงเรียน 6. ลดแหล่งมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 00:00 น.