กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค ชุมชนวัดคลองแห ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-l7255-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 29,915.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห โดย นายยุทธศักดิ์ ดวงสุวรรณ ประธาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 29,915.00
รวมงบประมาณ 29,915.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
45.80
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
57.20
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
33.45
4 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน
10.25
5 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
26.20
6 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
21.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และส่งเสริมให้มีสุขภาพทางจิตใจที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของประชาชนในชุมชนวัดคลองแห ซึ่งที่ผ่านมาทางชุมชนได้จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนวัดคลองแห และชุมชนใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่องเนื่อง และจากการจัดทำโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน พบกลุ่มที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน จำนวน 14 คน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง18 คน รอบเอวเกิน 13คน ดัชนีมวลกายเกิน 154คน คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแหเครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนวัดคลองแห และในพื้นที่ใกล้เคียง ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพขชนในชุมชนจึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืนเน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบ ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดบาสโลบ การเต้นแอโรบิก เพื่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมอง ชุมชนวัดคลองแห โดยคณะกรรมการชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิก ชุมชนวัดคลองแห ปี 2564 เพื่อให้มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และมีการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

33.45 48.30
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

45.80 50.20
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.20 65.33
4 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

10.25 15.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

21.15 19.20
6 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

26.20 22.45
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,915.00 0 0.00
30 - 31 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ 0 7,595.00 -
19 - 30 เม.ย. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 0 870.00 -
20 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก 0 18,000.00 -
20 - 24 ก.ย. 64 ประกาศนียบัตรนักเต้นตัวอย่าง 0 900.00 -
27 - 30 ก.ย. 64 ประเมินภาวะสุขภาพและสรุปผลโครงการ 0 2,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชน ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วม โครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

2.มีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น

3.ลดอัตราเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 13:11 น.