กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2475-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 2 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสนีซา บินเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนหลายด้านด้วยกัน ปัญหาที่เป็นตัวอย่างในระดับประเทศ เช่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาความรุนแรงซึ่งเกิดจากปัจจัยทั้งด้านตัวเด็ก ปัจจัยด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงของครอบครัวของผู้กระทำปัจจัยด้านลักษณะ เศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัยส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ปัญหาที่พบเป็นส่วนมาก เช่น ปัญหาเรื่องการต่อต้านผู้ใหญ่ ปัญหาไม่ค่อยเชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองบอกส่วนใหญ่จะเชื่อฟังเพื่อนและไปตามเพื่อนปัญหาด้านอารมณ์ความรุนแรง ปัญหาด้านการเรียน เที่ยวกลางคืน ปัญหามีรักในวัยเรียนส่งผลให้เกิดการทำแท้ง การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาการติดยาเสพติด เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ยังเป็นปัญหาสังคมที่ยังแก้ไม่หายและจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้นการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและการสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษาที่ถูกต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผลต่อสตรีวัยรุ่น ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการปรับตัว และเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การมีเพสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พร้อมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น อีกทั้งปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาและบุคลากรทีมสุขภาพ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน เป็นต้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก จึงอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉะนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จึงได้จัดทำโครงการ Stop Teen Mom “หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นมีความรู้เรื่องหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ร้อยละแกนนำหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นมีความรู้เรื่องหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

100.00 0.00
2 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุ 12-19 ปี

ลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุ 12- 19 ปี (ไม่เกินร้อยละ)

10.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 64 อบรมแกนนําวัยรุ่น 0 1,225.00 -
2 ก.ค. 64 จัดกิจกรรมนันทนาการ 0 3,775.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากดำเนินการโครงการนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วส่งผลให้แกนนำวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและ มีบทบาทแนะนำกลุ่มวัยรุ่นด้วยกันในชุมชนเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นที่มีอายุ 12-19 ปี นอกจากนี้แกนนำวัยรุ่นยังได้รับทักษะ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และเรื่องโรคติดต่อและการป้องกันโรคทางเพศสัมพันธุ์อย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 00:00 น.