กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวเกะรอสูงอายุสุขภาพดี วิถีมุสลิม
รหัสโครงการ 64-L4156-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 32,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซีซ๊ะ สาเหล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2564 32,200.00
รวมงบประมาณ 32,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาภาวะทางสุขภาพ
73.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี 2564 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผุ้สูงอายุโดยสมบรูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ภาคีเครือข่าย อสม.ตำบลเกะรอ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านเกาะแกงขึ้น และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุในบ้านเกาะแกงโดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผุ้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพ

200.00
2 2.เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยระยะท้าย

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุเข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยระยะท้าย

100.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมสงเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 มี.ค. 65 - 24 ธ.ค. 64 อบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยระยะสุดท้าย 200 32,200.00 32,200.00
รวม 200 32,200.00 1 32,200.00

1.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ
2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินงาน 3. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันองค์การบริหารส่วนตำบลเกะรอ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ พร้อมประสานงานกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อร่วมดำเนินการ 5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
5.2 ให้ความรู้ในเรื่องอาหารที่มีประโยชน์ในแต่ละกลุ่มวัย 5.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องในแต่ละกลุ่มวัย 6. สรุปผลการดำเนินการ 7. รายงานผลการดำเนินงานให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกะรอ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
  3. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สุขภาพ สังคม
  4. ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสม รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 10:23 น.