กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนรัก
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหัมมัด มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นางซำซียะห์ เจะดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.848,101.22place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานที่ผลิตและจำหน่ายอาหาร ถือเป็นสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบริโภคที่สำคัญ อาทิเช่น ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย การบริโภคอาหารจากสถานที่ผลิตและจำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาด และไม่ปลอดภัย จะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ โรคที่ส่งผลเร็ว เช่น โรคอุจจาระร่วง ลำไส้อักเสบ เป็นต้น โรคที่ส่งผลช้าหรือค่อยๆ แสดงอาการเช่น โรคหนอนพยาธิ อันตรายจากยาฆ่าแมลง และสารปนเปื้อนอื่นๆ งานสุขาภิบาลอาหารจึงถือเป็นงานสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการบริโภคอาหาร ไม่ปลอดภัย ทั้งในด้านความสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลของสถานที่ผลิตและจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของผู้ผลิตและผู้สัมผัสอาหาร คุณภาพอาหาร รวมไปถึงการปนเปื้อนของอาหารจากจุลินทรีย์ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายที่ปนเปื้อนในอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกผิดประเภท เช่น อาหารร้อนใส่ถุงพลาสติกธรรมดาหรือการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร เป็นต้น สิ่งปนเปื้อนในอาหารที่พบมากคือ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารฟอร์มารีน และสารสไตรีนจากกล่องโฟม เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำหน่ายบางรายอาจไม่ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ตนเองจำหน่ายว่ามีการปนเปื้อนสารเหล่านี้อยู่ หรือบางรายอาจทราบแต่ยังไม่คำนึงถึงผลกระทบที่แท้จริง หากมีความรู้ที่ถูกต้องจะได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้น และเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.๒๕๖๑ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนรักได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาลในเขตพื้นที่ตำบลดอนรัก ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น โดยมีกิจกรรมการอบรม ให้ความรู้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร กิจกรรมการตรวจสุขลักษณะของร้านอาหารตามแบบตรวจสุขาภิบาลอาหารสำหรับ“สถานที่จำหน่ายอาหาร” และการตรวจสุขลักษณะของแผงลอยของกรมอนามัย เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารจากร้านค้านำไปตรวจวิเคราะห์ เพื่อทดสอบคุณภาพอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร โดยขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดอนรัก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบอาหาร/ผู้สัมผัสอาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งผู้ประกอบอาหาร/ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร

80.00
2 เพื่อรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟมในผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

ร้อยละ 70 ของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมีการใช้ถุงพลาสติกและโฟมลดลง

70.00
3 ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 80 ของร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบอาหาร/ผู้สัมผัสอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟมในผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 - 31 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์เชิญผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสเข้าร่วมอบรม 0.00 0.00 -
15 มี.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้หลักสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัส หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร 41.00 7,700.00 -
15 มี.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร 40.00 7,600.00 -
15 มี.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 อสม. ลงพื้นที่ สำรวจข้อมูลจำนวน ร้านอาหาร ร้านค้า แผงลอยในตำบลดอนรัก 40.00 8,000.00 -
15 มี.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 ประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานแก่ผู้ประกอบการ 20.00 1,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
3.คณะกรรมการกองทุนอนุมัติให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ.โครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณ
3.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์เชิญผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารเข้าร่วมกิจกรรม 4.ดำเนินการตามโครงการ
  4.1ประชาสัมพันธ์เชิญผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสเข้าร่วมอบรม   4.2จัดอบรมให้ความรู้หลักสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัส หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร   4.3จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารและลงพื้นที่ สำรวจข้อมูลจำนวน ร้านอาหาร ร้านค้า แผงลอยในตำบลดอนรัก
  4.4ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยสามารถปรับปรุงร้านให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  2. ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  3. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมในการบรรจุอาหาร
  4. มีฐานข้อมูลจำนวน ร้านอาหาร ร้านค้า แผงลอยในตำบลดอนรัก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 11:37 น.