กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำอาสา ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L4115-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 40,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง (นายมะสูเฟียน บาโงปะแต)
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคนี้ เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในทุก ๆ ปี โดยทุกภาคส่วนได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคตลอดมา แต่ก็พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในหลาย ๆ พื้นที่ตลอดมา เนื่องจากการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากด้วย เพราะหากอาศัยแค่ภาครัฐและเอกชนอย่างเดียว อาจทำให้การควบคุมและการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประสบความสำเร็จได้ล่าช้า และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้
สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้นำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาใช้ในการรณรงค์ป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ คือ 1.เก็บบ้าน ให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่อยู่อาศัยของยุง 2.เก็บขยะ รอบบ้านโดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่ และใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. คือ 1.ปิดภาชนะน้ำกิน น้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่ 2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วันเพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ 4.ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ 1 ข. ขจัดไข่ยุง การขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตาย การระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง ยังคงเป็นปัญหา เห็นได้จากสถานการณ์โรคในปี ๒๕๖3 ยังพบ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 9 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 142.99 ต่อแสนประชากร ซึ่งมากกว่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง ( อัตราป่วย 118.8 ต่อแสนประชากร) อันแสดงให้เห็นถึงการเกิดโรคที่ไม่หมดไปจากพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคจะต้องอาศัยกำลังจากหลายภาคส่วน รวมทั้งอาศัยแกนนำอาสาที่มีความรู้ความสามารถในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ ซึ่งแกนนำอาสาจะประสานความร่วมมือ จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคดังกล่าว การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องเน้นการกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง จึงได้จัดทำโครงการแกนนำอาสา ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 เพื่อพัฒนาแกนนำอาสาในชุมชน แกนนำนักระบาดน้อยให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ และถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรค เพื่อเป็นตัวอย่างให้ประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติตาม ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา อันจะส่งผลให้ลดการการระบาดของโรค และควบคุมจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้ลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำอาสามีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรค

แกนนำอาสา มีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อควบคุม อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่ให้เกิน 80 ต่อแสนประชากร

แกนนำอาสา สามารถถ่ายทอดความรู้และแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน ร้อยละ 85

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 40,875.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน แก่แกนนำอาสา 60 14,725.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ แกนนำนักระบาดน้อย ป้องกันโรคไข้เลือดออก 70 14,750.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 11,400.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประเมินความรู้และพฤติกรรมแกนนำอาสา 0 0.00 -
  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
  2. ปรึกษาหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  3. เขียนโครงการ เพื่อเสนออนุมัติ ตามกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน แก่แกนนำอาสา

- ประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อค้นหาแกนนำอาสา ที่สามารถเข้าร่วมโครงการและดำเนินกิจกรรมกับรพ.สต. จนสิ้นสุดกิจกรรม จำนวน 50 คน - จัดเตรียมแนวทางและเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการ - ประสานวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ - ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน แก่แกนนำอาสา ป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ แกนนำนักระบาดน้อย ป้องกันโรคไข้เลือดออก - ประสานงานกับโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 2 โรงเรียน เพื่อค้นหาแกนนำนักระบาดน้อย ป้องกันโรคไข้เลือดออก โรงเรียนละ 35 คน - จัดเตรียมแนวทางและเนื้อหาการอบรม - ประสานวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ - ดำเนินการอบรมเชิง เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน แก่แกนนำนักระบาดน้อย ป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน - ติดต่อร้านเพื่อสอบราคาการจัดจ้างทำไวนิล - ออกแบบไวนิลประชาสัมพันธ์ - จัดจ้างทำไวนิลประชาสัมพันธ์พร้อมขาตั้ง จำนวน 12 อัน - ติดตั้งไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 4 ประเมินความรู้และพฤติกรรมแกนนำอาสาโดยใช้แบบทดสอบความรู้และพฤติกรรม ก่อน - หลัง การอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำอาสา มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องหลักการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออ ๒. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าปีที่ผ่านมา 3. แกนนำอาสาสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปแนะนำการปฏิบัติตัว และถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 12:08 น.