กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กนักเรียน ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจดูแลฟัน
รหัสโครงการ 64-L4115-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง (นางสาวซูใฮนี มะเกะ)
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 148 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 148 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะในเด็กระดับประถมศึกษาโดยโรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกในวัยเรียนคือ โรคฟันผุ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันผุ ร้อยละ 52.0 โดย มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่/คน ซึ่งใกล้เคียงกับผลจากการสำรวจครั้งที่ 7 ที่มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.3 ซี่/คน ตามลำดับ (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2560 : 15) ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เด็กมีสภาวะฟันผุเกิดจากพฤติกรรมการชอบบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เด็กส่วนใหญ่ชอบบริโภคขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ น้ำหวานรวมไปถึงเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุ จากผลรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากครั้งที่ 8 พบว่าในเด็กกลุ่มอายุ 12 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 ดื่มน้ำอัดลม สัปดาห์ละ 1 - 3 วัน ร้อยละ 13.4 ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 18.9 ที่ไม่ดื่มน้ำอัดลมเลย เด็กทั้งในเขตเมืองและชนบทมีพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมไม่แตกต่างกัน นอกจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมแล้วพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องยังเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุอีกด้วย จากผลการสำรวจพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็ก พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ร้อยละ 86.5 แปรงฟันหลังตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน ส่วนการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันพบว่ามีเด็กอายุ 12 ปี ร้อยละ 13.3 ที่แปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน ร้อยละ 31.4 แปรงบางวัน และร้อยละ 55.3 ตอบว่าไม่เคยแปรงเลย โดยเฉพาะเด็กในกรุงเทพมหานคร มีเพียงร้อยละ 5.9 ที่ตอบว่าแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เด็กมีการแปรงฟันหลังมื้ออาหารกลางวันที่น้อย
ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากจากระบบ HDC สาขาสุขภาพช่องปากในปีการศึกษา 2561 - 2563 ของจังหวัดยะลา พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 41.22 33.94 42.47 ตามลำดับ เด็กในอำเภอกรงปินังเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 23.32 40.42 40.70 ตามลำดับ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนโรงเรียนบ้านแบหอ ในปีการศึกษา 2563 พบว่า นักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปากสูงถึงร้อยละ 95.63 มีนักเรียนที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเพียงร้อยละ 3.06 เท่านั้น (รพ.สต.ห้วยกระทิง, 2563) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความชุกของโรคฟันผุในเด็กนักเรียนสูง
และจากการสำรวจโรงเรียนบ้านแบหอ พบว่า การดำเนินงานทางด้านทันตสุขภาพยังไม่มีความครอบคลุม  ทุกด้าน ได้แก่ ด้านทันตสุขภาพ พบว่า ไม่มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและขาดผู้นำนักเรียนในการบันทึกการแปรงฟัน ไม่มีมุมทันตสุขภาพ เช่น ที่เก็บแปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ ด้านการควบคุมและลดการบริโภคอาหารหวานในโรงเรียน พบว่า สหกรณ์และร้านค้าในโรงเรียนมีการจำหน่ายอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว น้ำหวาน และไอศกรีม ดังนั้นกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในนักเรียน เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุนับว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดย การให้ทันตสุขศึกษากับนักเรียน การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้บริการทันตกรรม การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี และที่สำคัญมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องจะทำให้ปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงได้ ดังนั้นฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง ได้ให้ได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านทันตสุขภาพของนักเรียน และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี รวมถึงเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ เด็กนักเรียนฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจดูแลฟัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเรื่องการดูแลทันตสุขภาพหลังจากได้รับความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

1ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 148 คน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเรื่องการดูแลทันตสุขภาพหลังจากได้รับความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

0.00
2 2 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 สามารถแปรงฟันได้อย่างสะอาดมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลงหลังได้รับความรู้

2 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 148 คน สามารถแปรงฟันได้อย่างสะอาดมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลงหลังได้รับความรู้

0.00
3 3 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน

.3 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 148 คน แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน

0.00
4 4 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 2.33 จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน)

.4 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 148 คน มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 2.33 จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน) นักเรียนจำนวน 148 คน

0.00
5 5 โรงเรียนมีมุมทันตสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

5 ร้อยละ100 โรงเรียนมีมุมทันตสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 308 20,160.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 29 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปาก 148 17,040.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2 จัดอบรมผู้ให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากแก่แกนนำนักเรียน 12 1,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ จำนวน 148 คน 148 1,620.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมวางแผนการสำรวจในพื้นที่และประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอปัญหา 2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.ประสานงานโครงการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.ดำเนินตามกิจกรรมโครงการ 4.1. กิจกรรมครั้งที่ 1 - ประชาสัมพันธ์การประกวดหนูน้อยฟันดีศรีแบหอ - ประเมินความรู้ pre-test กับนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 จำนวน 148 คน - ย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์ก่อนให้ความรู้ ป.1 - ป.6 จำนวน 148 คน 4.2. กิจกรรมครั้งที่ 2 - แจ้งรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ
- รับสมัครการประกวดหนูน้อยฟันดีศรีแบหอ - อบรมผู้นำนักเรียนเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้ไหมขัดฟันแก่นักเรียน 4.3. กิจกรรมครั้งที่ 3 - ย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังให้ความรู้ ป.1 - ป.6 จำนวน 148 คน - จัดมุมทันตสุขภาพ 1 มุม/ห้องเรียน 4.4. กิจกรรมครั้งที่ 4 - เล่นกิจกรรม walk rally 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานโรคฟันผุ ฐานอาหารดีฟันดี ฐานการแปรงฟัน - ประเมินความรู้ post-test กับนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 จำนวน 148 คน - มอบรางวัลกิจกรรม walk rally (กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด)
- มอบรางวัล “หนูน้อยฟันดี ศรีแบหอ” 4.5. กิจกรรมติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ 4.6. ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ 1. กิจกรรม       จัดอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากแก่นักเรียน โรงเรียนบ้านแบหอ จำนวน 148 คน
2กิจกรรม จัดอบรมผู้ให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากแก่แกนนำนักเรียน โรงเรียนบ้านแบหอ จำนวน 12 คน
- ย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังให้ความรู้ ป.1 - ป.6 3 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ จำนวน 148 คน - เล่นกิจกรรม walk rally 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานโรคฟันผุ ฐานอาหารดีฟันดี ฐานการแปรงฟัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 148 คน มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 14:08 น.