กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5192-3-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดอิกอมาติสสุนนะฮ์
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรุณีย์สาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่จะอยู่อาศัยในศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็ก และเพื่อนๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ศูนย์ เด็กเล็กที่มีการจัดการ ควบคุมส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์เด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้าน และศูนย์เด็ก และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจจากศูนย์เด็กเล็ก ชุมชน ดังนั้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงได้บูรณการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี เพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับ ประเทศต่อไป
ดังนั้น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดอิกอมาติสสุนนะฮ์ จึงเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มข้นในศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชนจึงเห็นควรจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดอิกอมาติสสุนนะฮ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครองเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง ครู ได้รับความรู้เกี่ยวกับ สุขภาพอนามัย

1.เด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง ครู ได้รับความรู้เกี่ยวกับ สุขภาพอนามัย

2 2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพและอนามัยของตน

2.เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพและอนามัยของตน

3 3 เพื่อเป็นการสร้างสุขนิสัยอันดี เกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายของตน

3.เป็นการสร้างสุขนิสัยอันดี เกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายของตน

4 4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ ที่มักพบในเด็กปฐมวัย

4.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัย ต่าง ๆ ที่มักพบในเด็กปฐมวัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 1.2 ชี้แจงผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ถึงนโยบายการดำเนินงาน 1.3 ดำเนินงานโครงการ 1.3.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3.2 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 1.3.3 ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดกิจกรรมโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการ ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมให้ความรู้สำหรับผู้ปกครองเวลา 9.00 น. – 10.00 น. 1) โรคมือ เท้า ปาก 2) โรคไข้เลือดออก 3) การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงในเด็กอื่น ๆ ได้แก่ โรคหวัด โรคตาแดง โรคอีสุกอีใส โรคติดเชื้อต่าง ฯลฯ
เวลา 10.00 น. – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย 10.30 น. – 12.00 น. 1) หลักโภชนาการที่ถูกสุขหลักอนามัยที่ดี 2) พัฒนาการของเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ช่วงอายุ 3-5 ปี

เวลา 12.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง

กิจกรรมการประเมินผลโครงการ - ประเมินความพึงพอใจ - ประเมินความรู้ - ประเมินสุขภาพฟันเด็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง ครู มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกวิธี 2 เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพและอนามัยของตน 3 ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กได้อย่างถูกวิธี 4 เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ ที่มักพบในเด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2560 09:39 น.