กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นฟูทีมสอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลพังยาง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5225-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโสภณ ขวัญชื่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว โดยกำหนดบทบาทภารกิจของทีม SRRT คือ เฝ้าระวังโรคติดต่อที่แพร่ระบาดรวดเร็วรุนแรง ตรวจจับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ทั้งนี้ หมายรวมถึง โรคและภัยสุขภาพร้ายแรง และสามารถส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้าง สอบสวนโรคอย่างมีประสิทธิภาพทันสถานการณ์  ควบคุมโรคฉุกเฉิน/ขั้นต้น เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด แลกเปลี่ยนข้อมูลเฝ้าระวังโรคและร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ซึ่งประเทศไทยพบปัญหาการระบาดต่อเนื่องของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ กรมควบคุมโรค ก็มีการเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ที่มีการอุบัติขึ้นในประเทศไทยอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของไวรัสหลายสายพันธ์เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีทั้งโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ ทีม SRRT ทำงานภายใต้ภาวะเร่งด่วนที่ต้องจัดการให้โรคหรือเหตุการณ์นั้นสงบโดยเร็ว โดยเฉพาะระดับพื้นที่ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานจำกัด หากต้องรับมือกับปัญหาการระบาดต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้ประชาชนเจ็บป่วย และเสียชีวิตได้
      ดังนั้น ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะควบคุมป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ พร้อมรับและตอบสนองเหตุการณ์ระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูทีม สอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบลพังยาง ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อที่แพร่ระบาดรวดเร็วรุนแรง และสอบสวนโรคอย่างมีประสิทธิภาพทันสถานการณ์ ควบคุมโรคฉุกเฉิน/ขั้นต้น เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ทันเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีม สอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบล มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

ทีมสอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็วตำบลมีความรู้เรื่องโรคติดต่อ สามารถนำความรู้ไปแนะนำให้กับประชาชนทั่วไปได้

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุม และป้องกันโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 8,740.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ 40 8,740.00 -
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุม และป้องกันโรค 40 0.00 -
  1. เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ ทีม สอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็ว อสม. แกนนำชุมชน อบต. โรงเรียน เพื่อประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
  3. เมื่อได้การสนับสนุนงบประมาณจึงดำเนินการจัดกิจกรรมดังนี้ 3.1 ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 3.2 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อ อุบัติซ้ำ โรคอุบัติใหม่ และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) แก่ทีมสอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็ว อสม. แกนนำชุมชน อบต.โรงเรียน 3.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทีมสอบสวนทางระบาดวิทยาเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล 3.4 มีการเตือนภัยแก่ประชาชน ป้องกันควบคุมโรคได้เร็วไม่แพร่การระบาดในวงกว้างโดยประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
  4. สรุปประเมินผลกิจกรรม รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปฏิบัติงานสามารถเรียนรู้กระบวนการควบคุมโรคจากประสบการณ์ในการทำงานของตนเองและผู้อื่น เพื่อนำไปพัฒนางานในพื้นที่ต่อไป
  2. สามารถควบคุม ป้องกันโรคติดต่อได้ทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 13:25 น.