กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามการได้รับวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 64-L4115-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข(นางสาวรอซือนี มะเตะ)
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่มารับบริการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กที่มีอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบ ตามเกณฑ์

ตราเด็กที่มีอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

อัตราเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ไม่เกินร้อยละ5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 269 25,950.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการติดตามการได้รับวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงในเด็กอายุ 0-5 ปี 73 2,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ขั้นเตรียมการ/เตรียมรายชื่อเด็ก 0-5 ปี 73 3,650.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตามเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามนัด โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน 73 7,300.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 มอบรางวัลเชิดชูเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 50 12,500.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ผู้รับผิดชอบงานระดับ รพ.สต.ห้วยกระทิง สำรวจข้อมูลเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์   1.2 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง เพื่อจัดทำโครงการ 1.3 จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
1.4 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 1.5 จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุก ลงพื้นที่ติดตามเด็ก ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2.ขั้นดำเนินการ
  2.1 ติดตามเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามนัด โดยอสม. เดือนละ 4 ครั้ง
  2.2 ลงพื้นที่เพื่อฉีดวัคซีนเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมายที่ขาดนัดและไม่สามารถมาฉีดวัคซีนในสถานบริการ โดย อสม.และ เจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้าน (นสค.)   2.3 เชิดชูเด็กที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ 2.4 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมร้อยละ 95 2.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการฉีดวัคซีนที่สถานบริการได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้เด็ก0-5 ปี ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 10:09 น.