กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรู้และการฝึกปฎิบัติด้านการแพทย์ฉุกเฉินตำบลเมาะมาวี ปี 60
รหัสโครงการ 60-L3031-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแพทย์ทางเลือกตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 71,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดา บูกา
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอับดุล รอแมมะยีแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 71,800.00
รวมงบประมาณ 71,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยฉุกเฉินมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งจาก อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยฉุกเฉินด้วยโรคอันตรายหรือโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมอง เบาหวาน ที่อาจจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุอย่างทันท่วงที เพื่อนำส่งสถานพยาบาลอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นในแต่ละชุมชนหรือแม้แต่ในครัวเรือนชนมีความจำเป้นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินได้ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ระบบที่มีการเตรียมความพร้อมในด้านทรัพยากร และบุคลากรที่จะให้บริการรักาาพยาบาลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งนอกและในโรงพยาบาล การักษาในห้องฉุกเฉินของแต่ละโรงพยาบาลมักเป็นแนวตั้งรับ กล่าวคือ ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการและมาถึงโรงพยาบาลแล้ว แต่ในบางครั่งผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งถ้าให้การักษาตั้งแต่ที่บ้านหรือ ณ ที่เกิดเหตุก็ย่อมสามารถให้การช่วยชีวิต หรือการรักษาเบื้องต้นที่ดีได้ก่อนที่จะมีอาการลุกลามรุนแรงมากแล้วเมื่อมาถึงโรงพยาบาล เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ประสบภาวะอันตรายต่อชีวิตและอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่มีความสำคัญต่อโอกาสการรอดชีวิต หรือการรักษาการทำงานของอวัยวะสำคัญต่อการมีชีวิตจากการไม่ได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานะที่ด้อยโอกาส ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่โอกาสการลดภาวะแทรกซ้อนและการรอดชีวิตที่สูงขึ้น โดยให้มีสิทธิการประกันและความสามารถในการจ่ายมาเป็นอุปสรรคในการได้รับการดูแล ประกอบพรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดบทบาทและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น ดังนั้นการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินทีมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อภารกิจนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อภารกิจนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประสานส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่นท้องถิ่นสามารถดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามเจตนารมณ์ของพรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มาตรา 33 วรรค 2 พรบ.ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยาบายการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และมอบหมายให้สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมในการพัฒนาระบบพร้อมจัดทำมาตรฐานและครอบคลุมคุณภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีกำหนดจะเปิดให้บริการครบทุกจังหวัดภายในปีงบประมาณ 2548 ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครพนักงานกู้ชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ เจตนติและทักาะในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในทุกกรณีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและสามารถปฏิบัติงานระดับปฐมภูมิในพื้นที่ได้ องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี มีความประสงค์จะจัดตั้งบริการแพทย์ฉุกเฉินก่อนนำส่งโรงพยาบาล(หน่วยกู้ชีพ) "หน่วยกู้ชีพตำบลเมาะมาวี"ซึ่งเป็นหน่วยกู้ชีพที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ พนักงานกู้ชีพ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เช่น รถหน่วยกู้ชีพ เครื่องแต่งการพนักงานกู้ชีพ วิทยุสื่อสาร มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานต้องมีความทันสมัย เพียงพอ และมีความพร้อมต่อการให้บริการประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยกู้ชีพและให้ความรู้แก่ประชาชนในการให้บริการประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการเสริมสร้างความรู้และการฝึกปฏิบัติด้านการแพทย์ฉุกเฉินตำบลเมาะมาวี" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ประสบภาวะอันตรายต่อชีวิตและอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่มีความสำคัญต่อโอากสการรอดชีวิต หรือการรักษาการทำงานของอวัยวะสำคัญต่อการมีชีวิต

ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล

2 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ระดับพื้นฐาน(FR)ให้แก่ผู้นำชุมชน และประชาชนเพื่อเป็นพนักงานกู้ชีพ

มีพนักงานกู้ชีพที่ให้บริการระดับปฐมภูมิ มีความรู้ เจตคติและทักษะตามหลักวิชาการ

3 เพื่อจัดตั้งศูนย์หาเครื่องแต่งกายให้แก่พนักงานกู้ชีพ

ส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

4 เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล

5 เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ช่วยเหลือดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างสุจริตจากการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติโดยมิชอบ

ส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

6 เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีการใช้ทรัพยากร (บุคลากร หน่วยบริการ และเครื่องมือ)ของระบบร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รับสมัครและคัดเลือกอาสาสมัครกู้ชีพ 2.อบรมเชิงปฏิบัติการกู้ชีพระดับพื้นฐาน(FR) แก่แกนนำชุมชน พนักงาน อาสาสมัครกู้ชีพใหม่และอาสาสมัครสาธารณสุข 3.จัดหาเครื่องแต่งกายสำหรับพนักงานกู้ชีพ เช่น เสื้อ กางเกง รองเท้า เสื้อยืด ชุดวอร์ม 4.จัดสวัสดิการประกันภัยอุบัติเหตุหมู่ให้กับอาสาสมัครพนักงานกู้ชีพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีพนักงานกู้ชีพที่ให้บริการระดับปฐมภูมิ มีความรู้ เจตคติและทักษะตามหลักวิชาการ 2.เกิดความสามัคคีและความร่วมมือของบุคลากรในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมั่นใจ 3.เพื่อส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน 4.ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2560 13:55 น.