กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา "เด็กประกอบฟันสวย ยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ" ปีงบ 64
รหัสโครงการ 64-L5202-(1)-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 0.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฏฐณิชา เจ๊ะเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุธน โสระเนตร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.483,100.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 431 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ
431.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพเป็นปัยหาสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะโรคฟันผุจะพบมากในเด็กนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน ปัยหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแลัวยังมีผลกระทบต่อการเรียน และพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายหากขาดทั้งความรู้ในเรื่องโรคในช่องปาก ความตระหนักในการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลช่องปากล้วยก่อให้เกิดแนวโน้มโรคฟันผุ และภาวะเหงือกอักเสบสูงขึ้น ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกัน รวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า มีอัตราการเกิดโรคฟันผุทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ทางทันตสาธารณสุขทุกคนต้องร่วมมือกันในการแก้ปัยหา (วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี) ซึ่งเด็กไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่จะประสบปัยหาทางทันตสุขภาพ ดังนี้ 1. ฟันผุเพิ่มขึ้น 2. แปรงฟันที่โรงเรียนลดลง 3.กินขนมมากขึ้นและกินอาหารที่มีเส้นใยลดลง จากการสำรวจนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2562 ก้ได้ประสบปัยหาดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะปัยหาโรคฟันผุ พบว่ารักเรียนมีฟันแท้ผุ จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 30.27 และในพื้นที่ตำบลประกอบพบว่ามีฟันผุ อุด ถอนที่สูงมากของนักเรียนอายุ 12 ปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.80 ซี่ต่อคน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน ในระดับประเทศเท่ากับ1.40 ๙ี่ต่อคน (สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทสไทย พ.ศ. 2560 - 2561) จากปัญหาดังกล่าวเนื่องจากนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางทันตสุขภาพที่สำคัญ การแก้ไขปัยหาดังกล่าวทำได้ดดยการใช้รุปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปากการให้สุขศึกษา การให้บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการติดตามประเมินผลทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้เห็นถึงความสำคัยของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา "เด็กประกอบฟันสวย ยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ "ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก และได้รับการดูแลทันตสุขภาพอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

431.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีขึ้นในการดูลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ของแกนนำนักเรียนและนักเรียนทั่วไปมีระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ (มากกว่าหรือเท่ากับ 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน)

80.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและครอบคลุมทุกด้าน

ร้อยละของแกนนำนักเรียนและนักเรียนทั่วไปมีค่า Plaque index เฉลี่ยลดลง (โดยใช้แบบบันทึกค่า Pi ของ Stallardet al.)

80.00
4 4. เพื่อให้นักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน

ร้อยละของเด็กนักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน

80.00
5 5. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทางทันตกรรม

ร้อยละของเด็กนักเรียนได้รับการเสริมสร้างและการบริการป้องกันโรคฟันผุ ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทางทันตกรรม

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจข้อมูลในโรงเรียน และจำนวนนักเรียนเพื่อนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน 2. ร่างโครงการและแผนปฏิบัติงาน 3. วางแผนเพื่อจัดทำโครงการ 4. ประสานความร่วมมือส่วนราชการและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานวิทยากร 6. กำหนดวันดำเนินงาน 7. ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 8. ติดตามผลการดำเนินงาน 9. ประเมินผลและสรุปโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาแก่แกนนำโรงเรียน จำนวน 48 คน (โรงเรียนละ 12 คน) - แบบสอบถามก่อนเข้าอบรม
1.1 อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและโภชนาการเกี่ยวกับสุขภาพ 1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟัน 1.3 ฝึกทักาะการใช้ไหมขัดฟัน 1.4 ฝึกทักาะการตรวจฟันและจดบันทึก 2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม Walk rally 4 ฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 431 คน (4 โรงเรียน) ดำเนินกิจกรรม 4 วัน วันละ 1 โรงเรียน - แบบสอบถามก่อนเข้าอบรม 2.1 ฐานที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคหลอดเหงือกอักเสบ 2.2 ฐานที่ 2 ให้ความรู้เรื่องอาหารที่ีผลต่ออนามัยช่องปาก 2.3 ฐานที่ 3 ฝึกทักาะการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟัน 2.4 ฐานที่ 4 แปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ พร้อมย้อมคราบจุลินทรีย์ 3. กิจกรรมที่ 3 3.1 ทำแบบสอบถามหลังเข้ารับการอบรม หลังให้ความรู้หนึ่งสัปดาห์ 3.2 ทำกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน -เปิดเพลงแปรงฟันในช่วงเสียงตามสายทุกวัน -มีการบันทึกการแปรงฟันทุกวันของแต่ละห้อง 3.3 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทันตกรรม 3.4 ติดตามผลการปกิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน 4. สรุปผลการดำเนินโครงการ ติดตามและประเมินผล 1. แบบทดสอบด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2. แบบบันทึกการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ (โดยใช้แบบบันทึกค่า Pl ของ Stallard et al.) มีคราบจุลินทรียืในฟันทุกตำแหน่งลดลงอย่างน่อย 1 ระดับ 3. แบบบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน (โดยแกนนำนักเรียน) 4. นักเรียนในโรงเรียนได้รับการตรวจตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และบริการทันตกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีสภาวะทางทันตสุขภาพที่ดีขึ้น
  2. นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัยของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
  3. นักเรียนมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก
  4. นักเรียนสามารถดูแลสุขภาช่องปากของตนเองได้อย่างีประสิทธิภาพ
  5. นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  6. นักเรียนสามารถลดความถี่ในการรับประทานอาหารได้
  7. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 10:22 น.