กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาพในเด็ก ๐-๕ ปี
รหัสโครงการ 64-L7252-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2564 - 29 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดาพร แซ่เฉีย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมยา หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มากกว่าร้อยละ ๖๐ เป็นเด็กก่อนวัยเรียน และถูกนำมาฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย เพราะเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะเกิดอาการป่วยได้บ่อย โรคติดต่อที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดต่อเชื้อทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องปิดการเรียน ค่าใช่จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคในนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก และโรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน แล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลเมืองสะเดามีจำนวน ๓ แห่ง และมีโรงเรียนที่ดูแลเด็กที่อายุต่ำกว่า ๕ ปี จำนวน ๕ โรงเรียน จากข้อมูลการเจ็บป่วยประจำวันพบว่า ผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่วยเป็นโรคหวัดบ่อย และยังมีโรคอื่นๆ อีกเช่น โรคมือเท้าปาก โรคอีสุกอีใส โรคคางทูม โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก ฯลฯ ซึ่งพบการแพร่ระบาดเป็นระยะ ทำให้เด็กต้องขาดเรียนบ่อยๆ และบางครั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องปิดทำการเป็นเวลาหลายวันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค เช่น โรคมือเท้าปาก เป็นต้น ประกอบกับบางครั้งผู้ปกครองไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแล ป้องกันและรักษาเด็กที่เป็นโรค จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจตลอดจนนำทักษะที่จำเป็นมาใช้ในการปฏิบัติงาน และนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ป้องกันควบคุมโรคที่เกิดกับตัวเด็กได้อย่างถูกต้อง และสามารถควบคุมการแพร่กระจายโรคภายในศูนย์เด็กเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาด ของโรคติดต่อใหม่ๆ และโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมาพบเด็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นเด็กที่มาฝากเลี้ยงที่ศูนย์เด็กเล็กและเด็กในชั้นอนุบาลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสะเดา จำนวน 8 แห่ง พบเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 30 กว่าราย และโรคระบบทางเดินหายใจ 50 กว่ารายซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของ เด็กอายุต่ำกว่า ๐-๕ ปี ซึ่งเป็นเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาพในเด็ก ๐-๕ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อให้ครูและผู้ปกครองเด็ก อายุต่ำกว่า ๕ ปี มีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคและสามารถดูแลสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครูและผู้ปกครองที่ดูแลเด็กต่ำกว่า ๕ ปี มีความรู้เรื่องโรค สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการและดูแลเด็กต่ำกว่า ๕ ปีได้อย่างถูกต้อง

ให้ครูและผู้ปกครองที่ดูแลเด็กต่ำกว่า ๕ ปี มีความรู้เรื่องโรค สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการและดูแลเด็กต่ำกว่า ๕ ปีได้อย่างถูกต้อง

100.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี

ลดอัตราป่วยที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ 2) เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3) ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
4) ดำเนินโครงการ
5) สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.คุณครู/พี่เลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความตระหนักถึงอันตรายของโรค และรู้วิธีการป้องกัน และดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้ปลอดภัยจากโรคได้อย่างถูกต้องและนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2564 14:05 น.