กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ L4137-09-03-64
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัมนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารีนา สุหลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 8,600.00
รวมงบประมาณ 8,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามเด็กวัยก่อนเรียน มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารอันเนื่องมาจากสาเหตุการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่าและยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นโภชนาการที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายต้องการ เสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการ อายุระหว่าง 1-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงปีแห่งการปลูกจิตสำนึก (Formative Years) การเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย, จิตใจ และอารมณ์ เช่นเดียวกับทักษะทางกาย มีการพัฒนาอย่าง ค่อนข้างรวดเร็ว การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย ด้วยเหตุนี้ เด็กวัยก่อนเรียนจึงควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลาย ชนิด วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริมให้เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ร่างกายเด็กต้องการใน แต่ละมื้อ แต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัย จึงจะสามารถป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูภาวะ ทุพโภชนาการของเด็กได้ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยซึ่งกำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว การที่เด็กปฐมวัยจะมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย ต้องได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการการบริโภคอาหารที่มีสารอาหารหลัก ๕ หมู่ ครบถ้วนและบริโภคอย่างพอดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จากสภาพปัจจุบันพบว่า เด็กปฐมวัยที่มีสภาพร่างกายอ้วนไปหรือผอมเกินไปมีจำนวนเพิ่มขึ้น
      จากการติดตามภาวะโภชนาการของผู้เรียน ภาคเรียนที่ 1/2563 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน จำนวน 47 คน พบว่ามีผู้เรียนที่ประสบปัญหาภาวะโภชนาการสูงถึงร้อยละ 36.17 ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างภาวะโภชนาการ จึงได้จัดโครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจวิธีการส่งเสริมโภชนาการและการดูแลรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับเด็ก อันจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับวัยและมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงดีด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและประเมินภาวะโภชนาการในผู้เรียน จำนวน 17 คน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถติดตามพัฒนาการของบุตรหลานได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมครู/บุคลากรศูนย์ฯ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ 2. จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 กันยายน 2563

-2-

กิจกรรม ระยะเวลา ขั้นดำเนินงาน 1. จัดทำทะเบียนข้อมูลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 2. จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูงสำหรับการติดตามโภชนาการเด็ก 3. จัดอบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและโภชนาการเกิน โดยวิทยากรจาก
รพ.สต มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)   - ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม   - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก   - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง   - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง   - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 4. กิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  - ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)   - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 5.กิจกรรมที่บ้าน   - กรณีเด็กอ้วน ผู้ปกครองดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม
  - กรณีเด็กผอม ผู้ปกครองกระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
7. จัดอาหารเสริมให้กับเด็กกลุ่มเป้าหมาย 8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3-6 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง มีนาคม 2564
ถึง
กันยายน ๒๕๖4 ขั้นติดตามและประเมินผล   ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ กันยายน ๒๕๖4

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 14:59 น.