กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 64-L4115-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบารู องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,515.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบารู องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง(นางสาวสุวรรณี ยามาย)
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปีมากกว่าร้อยละ ๖๐ เป็นเด็กก่อนวัยเรียน เด็กก่อนวัยเรียนจำนวนมากและเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องถูกฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย ในเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อยโรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจโรคมือเท้า ปากโรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องปิดโรงเรียน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน การให้ความรู้ ด้านการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต       เด็กปฐมวัยในวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะชีวิต (LifeSkills) เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับความเครียดและปัญหาต่างๆ ในชีวิตของตนได้อย่างเหมาะสมทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการที่จะจัดการ กับความกดดัน ความบีบคั้น ปัญหารอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลง ไปในอนาคตเพื่อให้เด็กสามารถดูแลและพึ่งพาตนเองได้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงรู้เท่าทันสภาพเหตุการณ์ในสังคมดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงควรได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมต่อ และฝึกทักษะทางสังคมให้เด็ก เช่น การฟัง การพูด การขอบคุณ การขอความช่วยเหลือ การยินดี การรอคอยและอื่นๆ       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตระหนักดีว่าไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง ถ้าขาดการประสานงานและช่วยเหลือจากชุมชนและผู้ปกครองพร้อมด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะผู้ปกครองมีส่วนในการอบรมดูแลนักเรียน ซึ่งเป็นบุตรหลานของตนเองในขณะที่เด็กอยู่กับครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการประสานงาน ติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล การให้ความรู้ ด้านการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรค อันเป็นประโยชน์ในการลดการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ใน อนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เต็มศักยภาพมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์

.เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญา ร้อยละ 100 ร้อยละ

0.00
2 2.เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถดูแลและพึ่งพาตนเองได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสมตามวัย (ทักษะชีวิต)

2.ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ร่าเริง แจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู ผู้อื่น และให้เกียรติผู้อื่น

0.00
3 3.เพื่อฝึกทักษะทางสังคมให้เด็ก ทั้งการฟัง ฟังผู้อื่นพูด เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน รู้จักช่วยผู้อื่น (ทักษะทางสังคม และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้)

3.เด็กและผู้ปกครองร้อยละ 80 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กับสถานศึกษาและชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ

0.00
4 4.เพื่อประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย ในการมีความรู้ การเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรค (การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านและ

4.มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย ในการมีความรู้ การเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับเด็กอยู่ในระดับ ดี  ( การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,770.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 . ชมการณ์ตูน อินนิเมชั่น โรคมือเท้าปาก 30 1,770.00 -

ขั้นตอนการดำเนินการ
  1. ประชุมคณะผู้จัดทำของกองทุนฯ อบต.ห้วยกระทิง และผู้เกี่ยวข้อง
  ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการการวางแผนดำเนินโครงการ
  ๓. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติประธานฯเพื่อเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ
  ๔. ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการทางสื่อต่างๆ
  ๕. ประสานหน่วยงาน กลุ่มต่างๆตามเป้าหมาย และส่วนเกี่ยวข้อง
  6. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคที่ติดเชื่อทางเดิน หายใจ โรคอุจจาระร่วง โรคมือเท้า ปาก   7. กิจกรรมเข้าจังหวะ การล้างมือ 7 ขั้นตอน   8. ชมการณ์ตูน อินนิเมชั่น โรคมือเท้าปาก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เต็มศักยภาพ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
2. เด็กปฐมวัยสนใจ ชื่นชม และร่วมกิจกรรมด้วยความมั่นใจ กล้าแสดงออก ร่าเริง แจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู ผู้อื่น และให้
  เกียรติผู้อื่น 3. ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และกิจกรรมสร้างสรรค์
4. ผู้ปกครองและเด็กได้นำความรู้ความสามารถ ทักษะต่างๆที่ได้รับ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป 5. เพื่อให้ทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อ และโรคติดเชื่อ ต่างๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 10:27 น.