กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L1507-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลในควน
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 179,512.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลในควน
พี่เลี้ยงโครงการ นายธีรนันท์เจียมจราพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.376,99.768place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 179,512.00
รวมงบประมาณ 179,512.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จะช่วยทำให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเกิดโรคไข้เลือดออกพบว่าภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 88.31 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 8,168 รายรองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ อัตราป่วย 27.63 ต่อประชาชนแสนคน จำนวนผู้ป่วย 3,396 ราย ภาคกลาง อัตราป่วย 23.41 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 5,152 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 18.19 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 3,981 ราย โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี2560 ภาคใต้มีผู้ป่วย 8,168 ราย ผู้ป่วยตาย 20 ราย อัตราป่วย (ต่อประชากรแสนคน) 88.31 อัตราตาย (ต่อประชากรแสนคน) 0.22 และอัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.24 ตำบลในควนมีเนื้อที่ประมาณ 50.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,225 ไร่ มีจำนวนประชากร 8,614 คนแบ่งเป็น ชาย 4,222 คน หญิง 4,392 คน และครัวเรือน จำนวน 2,666 ครัวเรือน ในการนี้ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลในควน จึงได้จัดทำโครงการเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลในควน เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมกำจัดลูกน้ำ ควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมทั้งพ่นสารเคมีทำลายยุงตัวเต็มวัย เพื่อหยุดการระบาดจากสถานการณ์โรคในปัจจุบันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นในพื้นที่ตำบลในควน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. ฝึกอบรมให้ความรู้ อสม. จำนวน 136 คน

ผู้เข้าร่วมอบรมร้อยละ 80 มีความรู้ในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

2 ข้อที่ 2. เพื่อลดปัญหาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ให้ผู้ป่วย รายใหม่เกิดขึ้นหรือน้อยที่สุด

 

3 ข้อที่ 3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

4 ข้อที่ 4. เพื่อกำจัดลูกน้ำ ทำลายและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้มีค่าดัชนี HI,CI

 

5 ข้อที่ 5. เพื่อทำลายยุงตัวเต็มวัยป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สู่ผู้ป่วยรายใหม่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ฝึกอบรมให้ความรู้ อสม. จำนวน 136 คน
  2. ร่วมเดินรณรงค์สำรวจกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตัวเต็มวัย 1 วัน 10 หมู่บ้านและโรงเรียนทั้ง 5 โรง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและนักเรียนในพื้นที่ตำบลในควน 2.1 รณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายโดยแบบสำรวจลูกน้ำประจำครัวเรือนทุกหลัง และแบบสำรวจลูกน้ำในโรงเรียน 2.2 รณรงค์ปิดฝาและทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำ (โอ่ง,ถังเก็บน้ำ) ทุกบ้าน 2.3 รณรงค์ทำลายภาชนะที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกับชุมชน 2.4 ใส่สารเคมีทำลายลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำที่ยังใช้ประโยชน์ 2.5 ฉีดพ่นหมอกควันป้องกันและกำจัดยุง
  3. ประชาสัมพันธ์ด้วยรถติดตั้งแผ่นป้ายและเครื่องขยายเสียง จำนวน 3 วัน
  4. รณรงค์สำรวจหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือนหรือจนกว่าสถานการณ์โรคจะดีขึ้น(ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ภายใน 2 เดือน) อย่างต่อเนื่องโดยอสม.
  5. ติดตั้งแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกทุกหมู่บ้านของพื้นที่ตำบลในควน
  6. เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลในควนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในควนสรุปผลการดำเนินการตามโครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกของตำบลในควน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลในควน
  2. ประชาชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
  3. ควบคุมค่าดัชนีให้อยู่ในเกณฑ์ คือ HI,CI
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2560 15:50 น.