กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3360-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านลำ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 28,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธาน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.รพ.สต.บ้านลำ(นางจริยา เกื้อสุข)
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุรศักดิ์ จันทร์กลับ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย
0.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อ  เชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวร การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถิติปี 2563 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ซึ่งประกอบด้วย  บ้านยางยายขลุย  บ้านป่าตอ และบ้านนาภู่  พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ โดยการสำรวจค่า ร้อยละของจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ × 100 / จำนวนหลังคาเรือนที่สำรวจ(BI) เท่ากับ 75.50  ,จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ × 100 / จำนวนภาชนะที่สำรวจ (CI) เท่ากับ 9.5 และ จำนวนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ × 100 / จำนวนหลังคาเรือนที่สำรวจ(HI) เท่ากับ 50.45 พบว่าทั้ง 3 หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลร่มเมืองกับเทศบาลตำบลร่มเมือง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่  จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

0.00 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า

การสามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(ร้อยละ)

0.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้นำชุมชน,อสม.และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก
  • ผู้นำชุมชน,อสม.และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก ร้อยละ 100
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,250.00 3 28,250.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การควบคุมโรค 0 9,750.00 9,750.00
9 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้นำชุมชน,อสม.และประชาชนทั่วไป เพื่อทบทวนมาตราการและสถานการณ์โรค 0 3,000.00 3,000.00
9 พ.ค. 64 - 9 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุ่งลายในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง 0 15,500.00 15,500.00

1.ประชุมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเพื่อกำหนดหน้าที่และแผนการทำงานในชุมชน 2.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน   3. จัดกิจกรรมอบรมทบทวนความรู้ กิจกรรมการรณรงค์ในชุมชน กิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพการควบคุมโรค
  4.สรุปผลรายงานในการปฏิบัติงาน   ๕.รายงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้นำชุมชน,อสม.และประชาชนทั่วไป สามารถดูแลป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนของตนเองได้ 2. ผู้นำชุมชน,อสม.และประชาชนทั่วไป สามารถเพิ่มประสิทธิผลในจัดการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ 3. สามรถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ ลดแหล่งเพาะพันธ์โรค ลดพื้นที่ทัศนอุจาด 4. เกิดการดูแลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น การจัดการขยะต้นทาง การจัดการน้ำเสียครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564 00:00 น.