กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคโคโรนาไวรัส 2019 ( COVID-19) ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1544-01-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากปรน
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรีสวัสดิ์ ศรีบางรัก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.256,99.552place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข โดยมียุงลายเป็นพาหนะ มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี การเกิดโรคไข้เลือดออกทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ในหลายๆด้าน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ขาดรายได้ในการจุนเจือครอบครัว ฯลฯ และส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในที่สุด โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและ มีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ ทำให้มี
การเดินทางมากขึ้น ทั้งภายในและต่างประเทศ  ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำ จึงเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหา สารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติ ในการกำจัดลูกน้ำ ตลอดจนการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด     ในการนี้ รพ.สต.บ้านปากปรน อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หากเกิดการระบาด และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดโรค ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันปัญหาร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มอายุ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 ไม่พบอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนัก และความร่วมมือของชุมชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 5 (ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 5) ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและสถานที่ราชการ(ค่า CI=0 )

0.00
4 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ชุมชนมีความพร้อมในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียม 1.วิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา 2.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3.ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 5.ประสานงานวิทยากร 6.การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์/ป้ายโครงการ     ขั้นปฏิบัติงาน 1.จัดประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) รพ.สต.บ้านปากปรน 2.จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในทุกๆหมู่บ้าน 3.จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกผ่านเครื่องขยายเสียง และรถประชาสัมพันธ์     ขั้นสรุปผล 1.เก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.รวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมทั้งหมด 3.จัดทำรูปเล่มสรุปโครงการ เสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง เกิดแกนนำในการสอบสวนโรคเบื้องต้นขึ้นภายในชุมชน ส่งผลต่อการควบคุมโรคของเจ้าหน้าที่ได้อย่างทันท่วงที ลดอัตราการสูญเสียด้วยโรคไข้เลือดออกให้ลดน้อยลงหรือเป็นศูนย์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:26 น.