กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
รหัสโครงการ 64-L5261-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าพระยา
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 168,372.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรพร โต๊ะสมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสถิติระบาดวิทยาพบว่า ทั้งอัตราป่วยและอัตราตายยังสูงอยู่พบได้ทุกวัย ปัจจุบันไม่สามารถค้นคว้าวัคซีนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อควบคุมยุงพาหะให้มีจำนวนน้อยลงจนไม่เป็นปัญหาในการระบาดของโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมอย่างทั่วถึงให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบพร้อมๆกันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดยุงลายจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงได้ ปัจจัยที่มีความสำคัญ ต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของเชื้อไวรัส ความหนาแน่น และการเคลื่อนย้ายของประชากร สภาพภูมิอากาศ ชนิดของยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง ของประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา และนโยบายในระดับชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีการแปรเปลี่ยนและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นอย่างยิ่ง และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24 กันยายน 2562 พบว่า ผู้ป่วย 93,007 ราย ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ.2561 ถึง 1.6 เท่า เสียชีวิต 98 ราย สูงกว่าปกติ คือร้อยละ 0.11 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบมากที่สุดคือกลุ่ม 5-14 ปี รองลงมา 15-34 ปี และแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ( ที่มา: จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 กันยายน 2562) ส่วนสถานการณ์โรคชิคุนกุนยาหรือไข้ป่วยข้อ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 กันยายน 2562 พบผู้ป่วย 7,481 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ 25-34 ปี รองลงมาคือ 35-44 ปี และ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ปัตตานี ระนอง ตาก ภูเก็ต และสงขลา ตามลำดับ (ที่มา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จ.สระบุรี/กองโรคติดต่อนำโดยแมลง/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค ลงวันที่ 20 กันยายน 2562)         ตำบลสะบ้าย้อย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง มาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2560-2562 พบว่า ในปี 2560 มีอัตราป่วย เท่ากับ 131.52 ( 126 ราย) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560) ในปี 2561 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1015.72 (190 ราย)  ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561) และปี 2562 มีอัตราป่วย เท่ากับ 871.38 (163 ราย ) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2562) ส่วนโรคชิคุนกุนยา ข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่ 2561-2562 พบว่า ในปี 2561 มีอัตราป่วยเท่ากับ 972.95 (182 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561) ในปี 2562 มีอัตราป่วยเท่ากับ 58.80 (11 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ตุลาคม 2562) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมา 10-14 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ ( ที่มา : จากศูนย์ระบาดอำเภอสะบ้าย้อย ) จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน  จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองช่าง เทศบาลตำบลท่าพระยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยาลดลง

 

0.00
2 แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง

 

0.00
3 แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90

 

0.00
4 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90

 

0.00
5 มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบ ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลท่าพระยา ร้อยละ 100

 

0.00
6 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CI = 0

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 168,372.00 0 0.00
30 มี.ค. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง ในหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน 0 19,647.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง (กิจกรรมถอดบทเรียน) 0 3,375.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง 0 27,200.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง 0 116,150.00 -

กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่  นำโดยแมลง ในหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย 95 คน (จนท.ทศ. 2 คน , จนท.สาธารณสุข 3 คน และหมู่บ้านๆ ละ 10 คน)
1.1 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง      ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา จำนวน 1 ครั้ง 1.1.1 ประสานงานกับกลุ่มแกนนำ ผู้เข้าร่วมโครงการ 1.1.2 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง
  - การบรรยายโดยวิทยากร ฉายวิซีดี วงจรการเกิดโรค การติดต่อ อาการ การดูแลผู้ป่วย วงจรชีวิตของยุงลาย การทำลายแหล่งภาชนะ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การกำจัดยุงลาย การปฏิบัติตัวตามหลัก 3 เก็บ การหาค่า HI ,CI - ให้ความรู้เรื่องการใช้ทรายอะเบท การผสมน้ำยา การดูแล การซ่อมบำรุง เครื่องพ่นหมอกควัน กิจกรรมสาธิตย้อนกลับและประเมินผลเป็นรายบุคคล เรื่องการผสมน้ำยา การใช้เครื่องพ่นหมอกควัน 1.1.3 ประเมินแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ 1.2 จัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง          ในหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง กลุ่มเป้าหมาย 95 คน (จนท.ทศ. 2 คน , จนท.สาธารณสุข 3 คน และหมู่บ้านๆ ละ 10 คน)
2.1 ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง ในหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง และหาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง จำนวน 1 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง (เป้าหมาย หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา)
3.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (แผ่นพับ, การกระจายเสียง) ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ    ในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 2 เดือน 3.2 รณรงค์ดำเนินกิจกรรม ( Big Cleaning) ในหมู่บ้าน/ โรงเรียน พร้อมสำรวจค่า HI,CI โดยทีมเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยแมลงของแต่ละหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน 3.3 ประเมินหมู่บ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง
3.3.1 ประเมินครั้งที่ 1 โดยทีมเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโรงพยาบาลสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวน 5 คน เพื่อคัดเลือกหมู่บ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก ในช่วงเดือน พฤษภาคม 3.3.2 ประเมินซ้ำอีกครั้งโดยทีมเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโรงพยาบาลสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวน 5 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน 3.๓.3 มอบประกาศนียบัตร หมู่บ้านต้นแบบ/โรงเรียนต้นแบบ ที่ได้รับการประเมินโดยทีมเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโรงพยาบาลสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่เทศบาล ในเดือน กรกฎาคม กิจกรรมที่ 4 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง กรณีเกิดการระบาด 4.1 จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย 4.2 รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา ศูนย์ สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย และดำเนินการควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงแต่ละหมู่บ้าน โดยลงพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน 4.3 จัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบล    ท่าพระยา ในช่วงปิดภาคเรียน กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงไม่เกิน 50 คน ต่อแสนประชากร ของประชาชนและนักเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา
  2. มีแกนนำ เครือข่าย ทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงแต่ละหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา
  3. แกนนำ/ประชาชน/มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง ตลอดจนตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก /โรคติดต่อที่นำโดยแมลง และมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลง
  5. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อที่นำโดยแมลงได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา
  6. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 13:53 น.