กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไอโอดีนเพื่อสุขภาพในเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 012/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูโบ๊ะกาโล
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2560 - 30 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัยนี ลูมุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญเป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดภาวะปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้พบได้ในทุกกลุ่มอายุแต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนอายุ2 – 3ปีโดยมีผลลดความเฉลียวฉลาดหรือไอคิวของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวันวันละ100 -150ไมโครกรัมในส่วนของหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้งหรือพิการตั้งแต่กำเนิดเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อนเป็นใบ้ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้าเฉื่อยชาเป็นคอพอกเพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มจำนวนและขนาดเซลล์สมองและช่วยโครงข่ายประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกันสร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่องส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีน จะทำให้เป็นคนเซื่องซึมเฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูโบ๊ะกาโล หมู่ที่4 เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลปุโรงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัยจึงจัดทำโครงการไอโอดีนเพื่อสุขภาพในเด็กปฐมวัยขึ้นเพื่อส่งเสริมส่งเสริมให้มีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนและกระจายเกลือเสริมไอโอดีนในชุมชนและสถานศึกษาให้ครอบคลุมและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปุโรงเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะการขาดสารไอโอดีนในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน อย่างจริงจัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน

 

2 2.2เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็กผู้ปกครองและประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1เขียนและเสนอโครงการเพื่อขอพิจารณาอนุมัติ 2.2ประชุมชี้แจงให้คณะครูผู้ดูแลเด็กผู้ดูแลเด็กและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงนโยบายการดำเนินงาน 2.3การจัดเตรียมเอกสาร 2.4การดำเนินงาน -ประสารถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติตำบลปุโรงเพื่อขอความอนุเคราะห์วิทยากรให้ความรู้เรื่องความสำคัญของสารไอโอดีนและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน -การให้ความรู้เด็ก ครูผู้ดูแลเด็กแม่ครัวผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนใกล้เคียงเรื่อง การส่งเสริมไอโอดีนเพื่อสุขภาพในเด็กปฐมวัย -จัดกิจกรรมครูผู้ดูแลเด็กและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กการทำไข่เค็มโดยส่งเสริมการใส่เกลือที่มีสารไอโอดีน 2.5สรุปผล/รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็กแม่ครัวผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน 2.ประชาชนเข้าใจและสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.เด็กนักเรียนในศูนย์เด็กเล็กได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2560 10:28 น.