กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ อสม. และแกนนำชุมชน
รหัสโครงการ 64-L1488-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลปัญหาสาธารณสุข ปี 2563 พบว่าประชาชนในอำเภอปะเหลียนเสียชีวิตด้วยโรคฉุกเฉิน ใน5 ลำดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ,โรคความดันโลหิตสูง,อุบัติเหตุและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังพบว่าเกิดอุบัติการณ์ของอำเภอปะเหลียน มีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งจากอุบัติเหตุทางถนน จมน้ำ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวานการช่วยเหลือที่ถูกวิธี จะทำให้ลดอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งในสภาวะปัจจุบันตามข่าวพบว่ามีดารา คนดังหรือประชาชนทั่วไปเกิดภาวะฉุกเฉินดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที ณ ที่เกิดเหตุจึงทำให้สถิติการเสียชีวิตและพิการเพิ่มขึ้นจากการศึกษาวิจัยห่วงโซ่การรอดชีวิตพบว่าหากมีการช่วยชีวิตนอกโรงพยาบาลจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้ถึงร้อยละ 66 และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลถึงร้อยละ 26 ดังนั้นการสนับสนุนประชาชนให้มีการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการฝึกทำ CPR ให้เป็นทุกคน จะสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการฝึกทำ CPR เป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ไม่ใช่เฉพาะแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาล หากหัวใจหยุดเต้น จะมีเวลาเพียงไม่กี่นาที ก่อนสมองจะขาดออกซิเจน แต่ขณะนั้นหากไม่มีการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการฝึกทำ CPR ก็อาจส่งผลให้สมองตาย ประสิทธิภาพของการกู้ชีพจะดีขึ้นถ้ามีการใช้เครื่อง กระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) กับผู้ป่วยทำให้ หัวใจกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง ซึ่งในเขตอำเภอปะเหลียนพบว่ามีการติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มได้รับสนับสนุนเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)จากสภากาชาดเพิ่มในอำเภอปะเหลียนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือดังกล่าวให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) แก่ อสม.และแกนนำชุมชน เพื่อให้ อสม.ที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่และแกนนำในชุมชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ อสม.และแกนนำชุมชนทุกคนมีความรู้ มีทักษะและสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้

อสม.และแกนนำชุมชนทุกคน  สามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 9,930.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1. อบรมทักษะความรู้ด้านวิชาการ โรคฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เป็นปัญหา ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ( AED ) 40 9,930.00 -

2.1 เสนอโครงการและขออนุมัติโครงการ 2.2 จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรมและอุปกรณ์เครื่องมือฝึกอบรม 2.3 ดำเนินกิจกรรมโครงการ จำนวน 1 วัน
    - อบรมทักษะความรู้ด้านวิชาการ โรคฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เป็นปัญหา
          - ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ( AED )   2.4 สรุปประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อสม./แกนนำชุมชน มีความรู้และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพและใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 13:50 น.