กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1520-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,652.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 10,652.00
รวมงบประมาณ 10,652.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจเอาละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์หาสารพวกออร์กาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเมท จากอวัยวะต่างๆ หรือจากเลือดมักจะได้ผลไม่ดี เนื่องจากสารพิษเหล่านั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเกิดปฏิกิริยาทางเคมีหลายอย่าง จึงนิยมใช้วิธีตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ในเลือดและอวัยวะต่างๆ เป็นการยืนยันการเป็นพิษแทน เพราะสารเคมีทั้งสองกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ซึ่งสามารถตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษขององค์การเภสัชกรรม ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2564 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในบ้านพื้นที่ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือดของประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการใช้/ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชากรจากการใช้/ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 10,652.00 1 10,652.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเลือด 100 10,652.00 10,652.00

ขั้นเตรียมการ
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ   2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์และวางแผนการดำเนินโครงการ   3. ประสานกับพื้นที่เพื่อเตรียมการและจัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน   4. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการจัดกิจกรรม   5. จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
ขั้นดำเนินการ   1. กิจกรรมลงทะเบียน และรับแบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้ารับการเจาะเลือด   2. เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช   3. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร/ผู้บริโภค ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย   4. แจ้งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบผลการตรวจว่าอยู่ในระดับใด ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ขั้นประเมินผล   1. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเลือด
  2. เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงสามารถป้องกันตัวเองได้ หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ผลว่าระดับสารเคมีในเลือดของตนเองว่าอยู่ในระดับใด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 10:14 น.