กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี2564
รหัสโครงการ 64-L1520-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,267.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 30,267.00
รวมงบประมาณ 30,267.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 157 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การมีภาวะความดันโลหิตสูง การมีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติ ภาวะอ้วนลงพุง การสูบบุหรี่ การเป็นโรคเบาหวาน การไม่ออกกำลังกาย การไม่กินผักผลไม้ และ ความเครียด จากข้อมูลการศึกษา Thai Registry in Acute Coronary Syndrome (TRACS) ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย ในคนไทยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดหัวใจ คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 83.2 ภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 59.5 เบาหวาน ร้อยละ 50.7 การสูบบุหรี่ ร้อยละ 32.1 และครอบครัวมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 9.3 จะเห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุของโรคกลุ่มนี้เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ การรับประทานที่มากเกินพอดี รับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม รับประทาน ผักผลไม้น้อยใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น มีกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวส่งผลให้เกิด ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือมีความพิการ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    จากสถานการณ์และอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม และค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1,000,000 - 1,200,000 ต่อปี หรือมากว่าในรายที่ ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนั้นการพัฒนาระบบการประเมินโอการเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกัน แก้ไข รักษา สามารถควบคุมอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้     อำเภอ วังวิเศษ ปี 2559 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 236 ราย เสียชีวิต 12 ราย ,ปี 2560 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 271 ราย เสียชีวิต 12 ราย, ปี 2561 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 280 ราย เสียชีวิต 15 ราย , ปี 2559 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 439 ราย เสียชีวิต 17 ราย, ปี 2560 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 523 ราย เสียชีวิต 20 ราย ,ปี 2561 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 566 ราย เสียชีวิต 24 ราย
    รพ.สต.บ้านในปง ปี 2559 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 14 ราย เสียชีวิต 0 ราย, ปี 2560 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 19 ราย เสียชีวิต 0 ราย ,ปี 2561 ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 18 ราย เสียชีวิต 0 ราย ปี 2559 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 18 ราย เสียชีวิต 0 ราย ปี 2560 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 25 ราย เสียชีวิต 1 ราย ปี 2561 ตรวจพบโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 30 ราย เสียชีวิต 3 ราย ( ข้อมูลจาก HDC ) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
    ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง ปี ๒๕๖4 จากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดัน จำนวน 1,181 คน มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 126 คนร้อยละ 10.6 และเสี่ยงเบาหวานจำนวน 31 คนร้อยละ 2.62 เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคดังกล่าวในอนาคต ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปงได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการส่งต่อเมื่อผู้ป่วยเข้าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

0.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 157 30,267.00 2 30,267.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 157 11,582.00 11,582.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเฝ้าระวังความเสี่ยงความดัน/เบาหวาน 0 18,685.00 18,685.00

ขั้นเตรียมการ
    1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ     2. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน     3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ     4. แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ ขั้นดำเนินการ     1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ       -ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดรอบเอว คำนวณค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต วัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น       -อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 2 รุ่น ใช้หลัก 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข     2. เตรียมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อคัดกรองโรคบาหวานด้วย 75 gm OGTT
2.1 เจ้าหน้าที่ และอสม. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดเลือกประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg%
(งดอาหาร)
2.2 อสม. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg% (งดอาหาร) ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อการติดตามและการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2.3 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม กรอกแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนดจนเสร็จสิ้นโครงการ 3. จัดอบรมพัฒนาบุคลากรทีมสหวิชาชีพ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการดำเนินงาน โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 ระยะ ตามระยะเวลาที่กำหนด 4. ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส OGTT โดยการทำ 75 gm OGTT (Oral Glucose Tolerance Test : OGTT) ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
    5.การวัดความดันที่บ้าน(SMBP) อย่างน้อย 7 วันต่อเนื่อง     6. ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลตนเองแบบมีส่วนร่วม กลุ่ม ปกติ เสี่ยง และป่วยโดยตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยขับเคลื่อนโดยแกนนำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพระดับชุมชน เช่น มีสถานที่ที่เหมาะสม  ในการ ออกกำลังกาย ต้องส่งเสริม ให้ มีการปลูกผักและกินผักที่ปลูก หรือ เลือกซื้อผักที่ปลอดสารพิษส่งเสริม
    7. ติดตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการเสริมแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องโดย ประเมินจากค่าความเสี่ยง เช่น ระดับน้ำตาล รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ที่เปลี่ยนแปลงไป ทุก 1 เดือน เป็นรายบุคคล ระยะเวลา ๕ เดือน ( พฤษภาคม 62 – กันยายน 2562 )     8. คืนข้อมูลการเฝ้าระวัง การดำเนินงานตามโครงการฯ ให้กับ ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เป็นระยะ เพื่อทบทวน และปรับกลวิธีการดำเนินงาน เพื่อมุ่งเน้น การลดผู้ป่วยรายใหม่ และปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
9. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ปัจจัยความสำเร็จ สิ่งที่สามารถนำมาเป็นรูปแบบ และอุปสรรค ที่ไม่สามารถดำเนินการได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 11:15 น.